กาแล เขาควายของลัวะ Kala ของชวา หรือพม่าเล่นคุณไสย ?

ข่าวศิลปวัฒนธรรม , 15 พ.ค. 2565, 21:10

กาแล เขาควายของลัวะ Kala ของชวา หรือพม่าเล่นคุณไสย ?

          "เรือนกาแล" หรือ "เฮือนก๋าแล" เป็นชื่อเรียกเรือนไม้พื้นถิ่นของชาวล้านนามีรูปแบบองค์ ประกอบ วิธีการปลูกเรือน และคติความเชื่อเกี่ยวกับเรือนที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ เรือนกาแลแต่ละหลังจึงมีความหมายมากกว่าการเป็นแค่เพียงเรือนพักอาศัย เพราะเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สะท้อนภูมิปัญญาในการปรับตัวของมนุษย์ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ผสานกับความเชื่อในวิถีชีวิตของคนล้านนา 

            ทว่ายุคปัจจุบันค่านิยมในการดํารงชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เรือนกาแลไม้เก่าแก่ถูกรื้อลง ไปมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ ยากที่จะพบเห็นเรือนกาแลที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ ส่วนมากมักนําไม้ไขว้ กากบาทที่เรียกว่า "กาแล" ซึ่งแกะสลักขึ้นใหม่ ติดประดับอยู่ที่หน้าจั่วของอาคารหรือตึกแถวสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความนิยมมาก จนทําให้เกิดคํากล่าวอันคลาดเคลื่อนว่า "กาแล-เชียงใหม่ สรไน-ลําพูน" 

            สาเหตุที่กล่าวว่า คําพูดนี้มีความคลาดเคลื่อนก็เพราะ เรือนกาแลนั้นมิใช่เรือนพื้นถิ่นเฉพาะของ จังหวัดเชียงใหม่เพียงแหล่งเดียว แต่ทว่ามีความเป็นสากลมากกว่านั้น เพราะพบโดยทั่วไปในเขต วัฒนธรรมล้านนาทั้งหมด รวมไปถึงวัฒนธรรมบางแหล่งในรัฐฉานของพม่า ในเวียดนามก็พบ ลาวตอนเหนือก็มี กลุ่มประเทศหมู่เกาะแบบอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ก็ยังมี

            มิอาจกล่าวได้ว่า "เรือนกาแล" นั้นเป็นสมบัติของกลุ่มชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่งเพียงกลุ่มเดียวหากแต่มีการผสมปนเประหว่างชนชาติหลายเผ่าพันธุ์ในเขตอุษาคเนย์ โดยเริ่มต้นจากชาติพันธุ์เก่าแก่ที่สุดในแถบนี้คือชาวลัวะ มอญ (เม็ง) และชาวที่สูงบางเผ่า เช่นกะเหรี่ยง ผสมผสานกับชาวไทลื้อ (รวม ไทเขินและไทยอง) ไทใหญ่ และไทโยน เรียกโดยรวมว่า "ล้านนา" ทุกกลุ่มชนนี้ล้วนสร้างบ้านในลักษณะ "เฮือนก๋าแล" ไม่แตกต่างกันมากนัก 

            ความเป็นมาของเรือนกาแล มีขึ้นเมื่อไหร่และเริ่มต้นอย่างไร เนื่องจากเรือนกาแลส่วนใหญ่สร้าง ด้วยไม้ อันเป็นวัสดุที่ไม่แข็งแรงคงทน เราจึงไม่อาจพบเรือนกาแลที่มีอายุเก่าแก่มากเกินไปกว่า 150 ปี ทั้งนี้มิได้หมายความว่า เรือนกาแลมีอายุเก่าสุดเพียงแค่หนึ่งร้อยปีเศษ ตรงกันข้าม นักวิชาการด้าน สถาปัตยกรรมต่างเห็นพ้องตรงกันว่า ต้นกําเนิดของเรือนกาแลน่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันห้าร้อยปี กล่าวคือเป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ของอารยธรรมหริภุญไชย ที่เข้ามาสถาปนาในแถบลุ่มน้ำแม่ปิงราว พ.ศ.1200 โดยประชากรชาวพื้นเมืองสองกลุ่มหลักคือ "ลัวะ" และ "เม็ง" คงเริ่มปลูกบ้านอาศัยด้วยไม้ยกพื้นสูงแล้ว และมีการใช้เขาควายจริงมาประดับบริเวณหน้า จั่วของบ้าน "เขาควาย" นี้ผู้มีสิทธิ์นํามาประดับได้ต้องเป็นหัวหน้าเผ่า หรือหมอผีเท่านั้น 

            ในทุกๆ ปีชาวลัวะจะมีการประกอบพิธีกรรมบูชาเสา "อินทขีล" หรือ "เสาสะก้าง" (เสาสะกัง) ซึ่งชาวลัวะเชื่อว่าพระอินทร์ประทานมาให้เป็นเสาหลักบ้านหลักเมือง ประเพณีนี้ยังหลงเหลืออยู่ในกลุ่มชนลัวะเพียงไม่กี่แห่ง อาทิ ลัวะบ้านแม่เหียะ บริเวณพระธาตุดอยคํา หรือลัวะที่พระบาทสี่รอย อําเภอแม่ริม เชียงใหม่ พิธีบูชาเสาอินทขีลต้องมีการเซ่นสังเวยกระบือ โดยนํามาผูกที่เสาแล้วลงมือฆ่า 

กระบือนั้น ซึ่งชาวลัวะเชื่อว่าวิญญาณผีปู่แสะย่าแสะ (ผีบรรพบุรุษ) ของตนจะมีความพึงพอใจยิ่งในการที่ลูกหลานได้เซ่นสรวงเนื้อควาย อันที่จริงเมื่อเราวิเคราะห์ให้ดี พบว่าชาวลัวะมีความจําเป็นด้านโภชนาหาร อย่างยิ่ง เนื่องจากชีวิตประจําวันเกือบตลอดทั้งปีได้กินโปรตีนไม่มากนัก ในแต่ละวันบริโภคแต่พืชผักผลไม้และสัตว์เล็กจําพวกแมลงมีปีกและแมลงใต้ดิน ดังนั้นพิธีการสังเวยกระบือของชาวลัวะนั้นมีนัยด้าน โภชนาหารแฝงอยู่ 

            เมื่อผู้นำเผ่าทําพิธีพลีกรรมด้วยกระบือเสร็จจะทําการตัดเขาควายคู่นั้นไปติดประดับที่บริเวณหน้าจั่วหลังคาของบ้าน อันเป็นตําแหน่ง "ปั้นลม" ที่ใช้ติดไม้กาแลในปัจจุบัน โดยเรียกเขาควายนั้นว่า "กะแหล้ง" (กะแล่ง) อันเป็นการแสดงถึงสถานะของผู้ที่เป็นหัวหน้าเผ่า 

            วัฒนธรรมการนําเขาควายมาประดับในบ้านของชนเผ่าพื้นเมืองนี้มีความพ้องกันหลายแหล่ง สามารถพบได้ทั่วไปในแถบเอเชีย อาทิ ในฟิลิปปินส์ ชาวตากาล็อกเรียกเขาควายที่ใช้ประดับหลังคา บ้านว่า "คาราบาว" หรือในอินโดนีเซียที่เกาะซาราวักและบาหลีก็เรียกเขาควายนี้ว่า "กาลา" จะเห็นได้ว่า ชื่อหลังนี้มีความใกล้เคียงกับคําว่า "กาแล" ไม่น้อย  

            พัฒนาการของเรือนกะแหล้ง ที่ใช้เขาควายประดับหน้าจั่วของชาวลัวะ คงได้รับการสืบทอดต่อ โดยชาวล้านนาหรือชาวไทโยนอย่างกว้างขวางตั้งแต่ยุคพระญามังราย แล้วค่อยๆ แพร่ขยายขึ้นไปยังชาว ไทลื้อในสิบสองปันนา รวมถึงกลุ่มไทยอง ไทเขิน และกลุ่มไทใหญ่ หรือ "ไต" ในรัฐฉาน ซึ่งคนไททุกกลุ่มที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นผู้มาใหม่ เข้ามาภายหลังอาศัยปะปนอยู่กับชาวลัวะพื้นเมืองดั้งเดิม ซึ่งเป็นประชากรพื้นถิ่นในฐานะบรรพบุรุษของพวกเขาทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงได้กล่าวไว้ ตั้งแต่ตอนต้นว่า วัฒนธรรมการสร้างเรือนกาแลมิได้จํากัดอยู่แค่เพียงจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น หากแต่กระจายตัวอยู่ทั่วไปในกลุ่มชนที่มีเชื้อสายลัวะและชาวไท-ไต 

            คําว่า "กาแล" "พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1” ได้ให้ความหมายดังนี้

"องค์ประกอบของเรือนไทยทางภาคเหนือ อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว ทําหน้าที่เหมือนกับปั้นลมของเรือนไทยภาคกลาง ประดับไว้เพื่อแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะของเรือนไทยล้านนา ลักษณะเป็นไม้ต่อจากไม้ปิดริมชายคาที่ประสานกันตรงสันหลังคาขึ้นไป" 

            ทําไมจึงเรียกไม้เช่นนั้นว่า "กาแล" ศาสตราจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์ อธิบายไว้ในหนังสือชื่อ "ลายคราม" พิมพ์ พ.ศ. 2527 ว่า

            "บ้านรูปทรงแบบเก่า ๆ ที่สร้างขึ้นมาในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยนั้น จะมีเสาเรือนขนาดใหญ่ที่มั่นคงแข็งแรง ตรงพื้นเรือนของบ้านที่ยกพื้นขึ้นสูงนี้มีฝาเรือนที่ลาดเอียงออกมาจากพื้นเรือนขึ้นไปสู่ใต้ของหลังคา ตรงจั่วหลังคาทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวเรือนมีปั้นลมลาดไปตามขอบจั่วหลังคา แล้วไปบรรจบกันที่ปลายจั่วและยื่นต่อออกไป มีลักษณะดุจ "เขาสัตว์" สองคู่ ซึ่งชาวไทยวนในภาคเหนือเรียกว่า ก๋าแล (คืออีกาชําเลืองตาดู) ส่วนชาวไทยวนในจังหวัดราชบุรี เรียกว่า แก๋แล (คือนกพิราบชําเลืองดู) ลักษณะการทําหลังคาบ้านทํานองนี้ พบเห็นมากในหมู่บ้านอีก้อและลัวะในจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าทั้งชาวอีก้อและลัวะต่างก็ไม่ทราบถึงความเป็นมาของการสร้างบ้านแบบนี้ นอกเสียจากว่าเพื่อความงดงามสวยงามเท่านั้น การทําหลังคานี้มีรูปแบบคล้ายๆ กันหลายที่ พบเห็นได้เช่นกันในรัฐฉานและรัฐว้าของพม่า ในมณฑลอัสสัมของอินเดีย ในเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และแม้แต่ในญี่ปุ่น บ้านของชาวไทลื้อในสิบสองปันนาของประเทศจีนตอนใต้และในลาวก็มีปลายจั่ว หลังคารูปทรงเขาสัตว์แบบดั้งเดิมนี้เหมือนกัน" 

            จากข้อความดังกล่าว เห็นว่าท่านศาสตราจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์เอง ก็ไม่มีความแน่ใจใน ประวัติความเป็นมาของ "กาแล" เท่าใดนัก เรื่องที่มาของกาแลจึงยังไม่มีความชัดเจนเป็นที่ยุติในวงวิชาการ มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากความเชื่อต่างๆ กัน 

กาแลคือเขาควายของชาวลัวะ? 

            ทฤษฎีหนึ่งที่คนล้านนาจำนวนมากยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ เนื่องจากในปัจจุบันมีหมู่บ้านชาวลัวะหลายแห่งยังคงทําประเพณีฆ่าควายเพื่อบวงสรวงผีบรรพบุรุษของพวกเขากันอยู่ ครั้นเสร็จพิธี ก็มักเอาเขาควายขึ้นไปประดับบนยอดหลังคา คล้ายๆ กับเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ อาจเป็นไปได้ว่า นี่คือที่มาของการนําไม้มาเหลาเป็น "กะแหล้ง" เลียนแบบเขาควายเพื่อใช้ประดับหลังคาบ้านของชาวลัวะคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้นําชนเผ่า ไม่สามารถจะล้มควายได้ จากนั้นคนไทโยน (คนเมือง) หรือชาวล้านนาก็รับเอาอิทธิพลกาแลรูปเขาควาย อันนี้ไปใช้อย่างกว้างขวาง 

ฤๅกาแล คือไสยศาสตร์ของชาวพม่า ? 

            ศาสตราจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์ กล่าวว่าบางทฤษฎีเชื่อว่ากาแลคือเครื่องหมาย "กากบาท" ที่ชาวพม่าตราประทับไว้ให้กับบ้านชาวไทโยนในช่วงที่ล้านนาประเทศตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านานถึง 200 ปีเศษ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างบ้านของผู้นําชาวพม่าในดินแดนล้านนากับบ้านของชาวล้านนาที่ถูกพม่าปกครอง เครื่องหมายไขว้รูป "กากบาท" เทียบได้กับหว่างขาของชาวพม่าที่เสกคุณไสยเข้า ครอบงําชีวิตชาวล้านนาให้ไม่กล้าลุกฮือ ยอมตกอยู่ภายใต้มนต์ขลังอํานาจของชาวพม่า 

            มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่ารูปทรงฝาผนังของเรือนกาแลนั้นยังไม่ได้ตั้งฉากตรงๆ อีกด้วย แต่มีลักษณะผายออกตอนบน ตอนล่างสอบเข้า คล้ายกับรูปทรงของโลงศพ อุปมาอุปไมยว่า ชาวล้านนาถูกพม่าบังคับให้อาศัยอยู่ในเรือนที่มีลักษณะเหมือนหีบศพ ด้วยเหตุนี้นี่เอง ชาวไทโยนจึงตกอยู่ใต้อาณัติของพม่านานถึง 217 ปี? 

            หลายคนได้กระทําพิธีล้างอาถรรพ์ ด้วยการถอดไม้กาแล (รวมทั้งไม้หัมยนต์) ออกมาแล้วลอดใต้หว่างขาก่อนฝังลงดินในป่าช้า ทุกวันนี้เรือนภาคเหนือที่ยังปักกาแลแบบดั้งเดิมนั้นเหลืออยู่เพียงแค่ไม่กี่ หลังแล้ว นอกนั้นล้วนเป็นของทําใหม่ทั้งสิ้น 

ฤๅกาแล คือ Kala ของศิลปะชวา?
            ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งที่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มณี พยอมยงค์ เสนอด้วยการใช้ความรู้ 

ด้านภาษาศาสตร์เข้ามาช่วย โดยตั้งข้อสังเกตว่า "ตัวกาแล" นี้มิได้มีเฉพาะบ้านคนเหนือเท่านั้น การทําปั้นลมบนหลังคาเป็นรูปกากบาทนั้น ควรเป็นวัฒนธรรมร่วมของชาวอุษาคเนย์มากกว่า ในเกาะชวาและบาหลีของอินโดนีเซียก็มีความนิยมในการทําปั้นลมรูปกากบาท คนอินโดเรียกว่าตัว "กาลา" หรือ Kala หมายถึงเทพเจ้าผู้กลืนกินกาลเวลา พัฒนามาจากตัวหน้ากาลหรือราหูที่เคยใช้ประดับเหนือซุ้มประตูทางเข้าอาคารมีหน้าที่เฝ้าศาสนสถานและ ป้องกันภูตผีปีศาจ  

            ในขณะเดียวกัน เราเคยพบหลักฐานตัวปั้นลมรูปกาแลซึ่งน่าจะเก่าแก่ที่สุด ณ บริเวณจีนตอนใต้ ในแคว้นยูนนาน ได้มีการขุดพบรูป "กาแล" จําลองขนาดเล็กทําด้วยสําริด มีอายุราว 2,500 ปีเศษ ใน หลุมศพปะปนกับโครงกระดูกของมนุษย์โบราณในวัฒนธรรมดองซอน อันเป็นยุคสมัยที่มีความผูกพัน และเกี่ยวเนื่องกับกลุ่มชนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยมาแล้วเช่นกัน

บทสรุปแห่งกาแล
            แม้ทฤษฎีต่างๆ จะขัดแย้งกัน แต่ในความเป็นไปได้นั้น "กาแล" ควรเป็นคําเดียวกันกับ "Kala" ของชวา โดยเดินทางมาไกลจากอู่อารยธรรมอินเดียประเทศแม่ เข้าสู่หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิกโดยพ่อค้าและนักเผยแพร่ศาสนา ผ่านขึ้นมายังสุวรรณภูมิอันมีอาณาจักรโบราณอาทิเช่น ฟูนัน ดองซอน มอญ และขอม โดยมิได้แบ่งแยกลัทธินิกายพุทธ-พราหมณ์ -อิสลาม ในที่สุดก็เข้ามาผสมผสานกับความเชื่อของพวกลัวะในเรื่องการเซ่นไหว้ผีปู่ย่าด้วยเขาควาย ต่อมา ได้พัฒนารูปร่างหน้าตาขึ้นใหม่จนเป็นไม้กากบาท โดยชาวไทโยนเพื่อนํามาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการปลูกสร้างบ้านเรือนของพวกเขา 

            แม้ว่าปัจจุบันนี้ตัว "กาแลของล้านนาจะมีหน้าตาที่แตกต่างไปจาก "Kala" ของชวา แต่รากศัพท์ของสองคํานี้ก็ฟ้องว่ามันน่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ส่วนการถูกเรียกว่า "แก๋แล" จน กลายเป็น "นกผ่อนั้น น่าจะเป็นการลากคํา-โยงความขึ้นมาใหม่ของคนยุคหลัง เนื่องจากในท้ายที่สุดแล้ว หน้าที่โดยอ้อมของมันยังได้กลายเป็นปั้นลมช่วยไล่ไม่ให้นกกาเกาะอีกโสดหนึ่งด้วย 25-26 หน้ากาล (Kala) ของชวา อินโดนีเซีย และที่วัดป่าสัก เชียงแสน

 

10

ข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

NETA Chiangmai เนต้า มหิดล เชียงใหม่ เชิญท่านพบกับงาน MOTOR SHOW โปรฉ่ำรับสงกรานต์ 3-9 เมษ...

 พบกับน้องใหม่ NETA V-II⚡ ที่ @Central Chiangmai Airport (อควาเรียมชั้น G) ✨พิเศษจองรถภายในงานรับคะแนน The 1 card 5000 คะแนน🥰💭 พูดคุยกับ Neta Chiangmaiเปิดให้ทดลองขับ พร้อมจองรถได้แล้ว รายละ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 28 มี.ค. 2567, 19:59
  • |
  • 37
  • |
  • 39

VOLVO Chiangmai Sweden Motors เชิญพบกับรถยนต์วอลโว่ EX30 วันที่ 3-9 เมษายน 67

  "มาเป็นครอบครัว VOLVO​ Chiangmai​ Sweden ​Motors​ ด้วยกันนะคะ"ในงาน  MOTOR Sale โปรปัง รับซัมเมอร์ ที่ลานโปรโมชั่น ชั้น จี เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต เรามีรถยนต์ วอลโว่ เป็นรถยนต์ไฟฟ้า E...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 28 มี.ค. 2567, 18:53
  • |
  • 32

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai H-1 Elite FE สีดำ รถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

ที่ปรึกษาการขาย เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ เซลส์มุ้ย ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้แก่ คุณแพรพิไล มานะHyundai H-1 Elite FE สีดำ ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได สอบถามรายละเอียดของรถ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 28 มี.ค. 2567, 18:40
  • |
  • 27

พบรถยนต์ไฟฟ้าจาก G W M ในงาน MOTOR Sale "โปรปังรับซัมเมอร์ "3-9 เมษา 67 ชั้น G เซ็นทรัล แอ...

ขึ้นต้นปีมานี่บ้านเราก็มีงานใหญ่มากมายสำหรับค่ายรถยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้เริ่มต้นเดือนเมษายน ก็พบกับงานของคนชอบรถยนต์ จะถอยใหม่ป้ายแดงทั้งรถเครื่องยนต์สันดาปหรือรถยนต์ไฟฟ้าก็เลือกเอาได้เลยในงาน มอเต...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 26 มี.ค. 2567, 20:35
  • |
  • 56

3-9 เมษายน 67 มาพบกับรถไฟฟ้า AION Y PLUS ในงาน MOTOR Sale โปรปังรับซัมเมอร์ ที่ ชั้น G...

GAC AION เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ AION Y Plus 410 Premium ที่สุดของเอสยูวีไฟฟ้า ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตAION Y Plus 410 Premium ราคา 859,900 บาทข้อเสนอสุดพิเศษ สำหรับลูกค้าที่จองรถ AION Y Plu...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 26 มี.ค. 2567, 12:48
  • |
  • 72

งานใหญ่สำหรับคนอยากมีรถ MOTOR Sale "โปรปังรับซัมเมอร์ "3-9 เมษา 67 ชั้น G เซ็นทรัล แอร์พอร...

ขึ้นต้นปีมานี่บ้านเราก็มีงานใหญ่มากมายสำหรับค่ายรถยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้เริ่มต้นเดือนเมษายน ก็พบกับงานของคนชอบรถยนต์ จะถอยใหม่ป้ายแดงทั้งรถเครื่องยนต์สันดาปหรือรถยนต์ไฟฟ้าก็เลือกเอาได้เลยในงาน มอเต...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 25 มี.ค. 2567, 07:58
  • |
  • 76
Sytiq Company

ออกแบบพัฒนาโปรแกรมและแอพลิเคชั่น

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128

Sytiq Company

ออกแบบและติดตั้ง Home Automation

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128