เมืองพาน : เมืองของครูบาเจ้าศรีวิชัย ขอน้อมไหว้สา ในวาระ 144 ปีชาตกาล

ข่าวศิลปวัฒนธรรม , 5 มิ.ย. 2565, 21:49

เมืองพาน : เมืองของครูบาเจ้าศรีวิชัย ขอน้อมไหว้สา ในวาระ 144 ปีชาตกาล

ช่วงที่ดิฉันทำวิจัยเรื่อง “สิริชีวประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย” ด้วยการตามรอยวัดวาอารามหรือเสนาสังฆิกะที่ท่านสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ทั่วล้านนาให้กับสมาคมชาวลำพูน ระหว่างปี 2557-2561 อยู่นั้น คำถามหนึ่งที่ผุดขึ้นกลางใจอยู่เนืองๆ ก็คือ
“อีกแล้วหรือเมืองพาน? ทำไมจึงเต็มไปด้วยวัดที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยมาบูรณะอย่างมากมาย มากกว่าอำเภออื่นๆ เมื่อเทียบกับในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ ยังนับรวมได้แค่ 15-16 แห่ง ไม่ถึง 20 แห่ง แต่ที่เมืองพานนี่ ทำไมจึงปาไปเกือบ 30 แห่ง?”
อะไรเป็นมูลเหตุให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องเข้ามามีความเกี่ยวข้องผูกพันกับเมืองพาน จนถึงขั้นยินดีช่วยสร้างและฟื้นฟูศาสนสถานมากกว่า 30 แห่ง (ยิ่งในอดีตหากนับให้ครอบคลุมถึงเขตพื้นที่อำเภอแม่ใจ เทิง ป่าแดด แม่สรวย แม่ลาว ซึ่งทั้งหมดนี้เคยอยู่ภายใต้เขตพื้นที่การปกครองของเมืองพานด้วยแล้วนั้น ยิ่งนับรวมวัดของครูบาเจ้าศรีวชัยได้มากถึง 50 แห่ง) 
 

คำตอบที่ว่าทำไมเมืองพานจึงมีวัดที่สร้างโดยครูบาเจ้าศรีวิชัยอย่างล้นเหลือ เหตุเพราะครั้งหนึ่งเมืองพานแห่งนี้เคยรองรับการอพยพของ “ชาวยองจากเมืองลำพูน” เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นประชากรส่วนใหญ่ตั้งแต่ พ.ศ. 2421 เป็นต้นมา ตรงกับสมัยพระเจ้าบุญมาเมือง เจ้าหลวงลำพูนลำดับที่ 2 พระองค์ได้ส่งพระโอรสชื่อ “เจ้าน้อยอินทวิไชย” (เจ้าน้อยอินต๊ะ) ให้คุมชาวยองมาตั้งถิ่นฐานในเมืองพาน เนื่องจากห้วงเวลานั้นสถานการณ์แถบเชียงแสน เชียงรายไม่ค่อยสู้ดีนัก ยังต้องการกำลังคนไปช่วยสู้รบกับพม่า กอปรกับลำพูนเกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง จำเป็นต้องหาแหล่งทำกินใหม่ที่ดินดำน้ำชุ่ม โดยในช่วงแรกนั้นกำหนดให้เมืองพานขึ้นตรงต่อลำพูน แม้เขตพื้นที่ไม่ได้ติดต่อกัน
 

เมืองพานเป็นเมืองโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยล้านนาก่อนแล้ว ที่ตั้งของเมืองพานเสมือนหนึ่งเมืองกันชนไม่ให้อำนาจของพระญางำเมืองกระทบกับพระญามังราย ช่วงที่เมืองพานร้างไร้ผู้คนสมัยต้นรัตนโกสินทร์ นอกจากชาวยองลำพูนแล้ว ยังมีคนต่างถิ่นจากพื้นที่ต่างๆ หลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งอีกด้วย อาทิ ชาวเมืองห้างฉัตร ลำปาง ชาวสูงเม่น เมืองแพร่ เป็นต้น ดังนั้นทันทีที่ชาวยองจากลำพูน (รวมทั้งคนเมืองพานชาติพันธุ์อื่นๆ) ทราบข่าวการเดินทางมาถึงเมืองพานของ “ครูบาศีลธรรมแห่งเมืองลำพูน” ก็ย่อมต้องมีความอิ่มเอิบหัวใจ รู้สึกอบอุ่นเป็นธรรมดา รีบไปเข้าพบไหว้สาครูบาเจ้าศรีวิชัย ขออาราธนาบารมีจากท่าน เมตตาเป็นประธานนั่งหนักในการสร้างวัดต่างๆ ในเขตพื้นที่ของตนกันอย่างไม่ขาดสาย 
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่เสริมส่งให้เขตรอยต่อของอำเภอพานถึงอำเภอแม่ใจในพะเยานั้น มีวัดที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยช่วยบูรณะมากที่สุด เป็นเพราะบริเวณนี้คือสถานที่พำนักของกลุ่มสล่าเอกหลายรูป/คน อาทิ ครูบาเขื่อนแก้ว คนฺธวํโส ครูบากัญจนะ (หนานกั๋น) ครูบาศรีนวล ครูบาไชยา และพ่อสล่าหนานใจ วรรณจักร เป็นต้น ซึ่งสล่ากลุ่มนี้มีจุดเด่นนี้คือ นิยมจัดทำแผ่นปูนจารึกถึงประวัติการก่อสร้างวัดอย่างละเอียด
 

เส้นทางธรรมยาตราของครูบาเจ้าศรีวิชัยจากลำพูนมาสู่เมืองพานนั้น ใช้หลายเส้นทาง พบว่าอย่างน้อย 3 เส้น เส้นทางสายแรก คือเส้นลัดป่าเขาจากจุดปัจจุบันที่เป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ครูบาเจ้าศรีวิชัยใช้เส้นนี้ครั้งแรก เป็นทางอันตราย ดอยแต่ละลูกสูงชันมาก เริ่มจากการที่ครูบาฯ ตั้งใจจะไปช่วยบูรณะวัดพระเจ้าตนหลวง (ศรีโคมคำ) ทุ่งเอี้ยง ท่านออกเดินทางจากลำพูนวันที่ 9 พฤศจิกายน 2465 โดยเท้าเปล่า บางช่วยมีคนหามเสลี่ยง ใช้เวลาเกือบ 2 เดือนกว่าจะถึงเมืองพาน คร่าวของท้าวสุนทรพจนกิจพรรณนาว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัยตัดดอยป่าเกี๊ยะ ดอยตายโหง แล้วลงที่บริเวณบ้านป่าหุ่ง จากนั้นชาวเมืองพานก็เบียดเสียดวิ่งกรูกันเอาเสลี่ยงมาหามครูบาเจ้าฯ ช่วงชิงกันไปยังหมู่บ้านของตน ค่ำนี้จำวัดที่วัดนี่ อีกคืนต้องไปจำวัดที่อื่น ย้ายไปวัดต่างๆ ไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งกลางวันกลางคืนสาธุชนจูงมือกุลบุตรมาให้ครูบาเจ้าฯ บรรพชาอุปสมบทเป็นสามเณร และพระภิกษุ ต่างคนต่างมามุงดูนักบุญแห่งล้านนาจนแน่นขนัด ที่วัดป่าบงหลวงคนเบียดเสียดถองกันไปมา ไม่มีใครยอมลงจากกุฏิ จนกุฏิล้มพังครืนลงมา
 

เส้นทางที่สอง คือเส้นที่ขึ้นมาจากลำปาง วังเหนือ วังแก้ว พะเยา แม่ใจ แล้วเข้าสู่เมืองพาน เป็นเส้นทางสายใต้ กับเส้นสุดท้าย คือเส้นที่อ้อมขึ้นมาจากทางเหนือ คือเวียงป่าเป้า แม่สรวย แม่ลาว แล้วเลี้ยวขวาลงแม่คาวโตน ก็เป็นอีกเส้นหนึ่งที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยใช้เดินทางค่อนข้างบ่อย 
รายชื่อวัดในอำเภอพานที่เป็นผลงานของครูบาเจ้าศรีวิชัย มีจำนวน 29 แห่ง (หมายเหตุปกติมี 27 วัด แต่ในที่นี้ขอนับวัดพระธาตุสามดวงแยกเป็น 3 แห่งตามข้อมูลในอดีต) เรียงตามตำบลที่ตั้งอยู่เหนือสุดลงมาใต้สุดดังนี้ ตำบลธารทอง มีวัดกำพร้าวัวทอง, ตำบลทรายขาว มีวัดพระธาตุดงลาน กับโรงเรียนห้วยทรายขาว, ตำบลแม่อ้อ มีวัดพระธาตุกู่แก้ว, ตำบลเจริญเมือง มีวัดเจริญเมือง วัดพระธาตุดอยงู กู่มหาโคสเถร และวัดกู่ธาตุดวงเหนือ (ร้าง), ตำบลสันกลาง มีพระธาตุดอนมูล วัดศรีชุม และพระธาตุเวียงหวาย, ตำบลเมืองพาน มีวัดหนองบัวเงิน วัดพระธาตุจอมแว่ และวัดเกตุแก้ว, ตำบลป่าหุ่ง มีวัดทุ่งมะฝาง วัดป่าบงหลวง และวัดพระธาตุสามดวง, ตำบลม่วงคำ มีวัดพระธาตุจอมแจ้ง วัดพระหิน วัดป่าถ่อนดอนแก้ว และวัดสันต้นต้อง, ตำบลทานตะวัน มีวัดสันป่ง, ตำบลแม่เย็น มีวัดป่าพระธาตุหลวง วัดป่าสักเหนือ วัดปูแกง วัดพระธาตุจอมรุ่ง และวัดสันต้นแหน 
แหล่งข้อมูลที่ดิฉัน ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ และผู้ร่วมวิจัย อาจารย์ภูเดช แสนสา ทำการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดจนทำให้ทราบว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดใดบ้าง มีที่มาจาก 3 แหล่งดังนี้
 

กลุ่มที่ 1 จากบัญชีถวายพระราชกุศลของครูบาเจ้าศรีวิชัยต่อคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เอกสารชิ้นนี้มีลายเซ็นของครูบาเจ้าศรีวิชัยรับรองต่อสำนักราชเลขานุการในพระองค์ว่ารายการก่อสร้าง 67 รายการ (จากจำนวนวัด 51 แห่ง หมายความว่าบางวัดมีการสร้างเสนาสนะหลายรายการ) นั้น ท่านได้สร้างจริงระหว่าง พ.ศ. 2476-2478 อันเป็นช่วงระยะเวลา 3 ปีก่อนหน้าที่จะถูกเรียกตัวไปสอบสวนคดีต้องอธิกรณ์ครั้งสุดท้ายในปี 2478 กลุ่มนี้มีวัดในเขตเมืองพานมากถึง 13 แห่ง พบว่าชื่อเรียกวัดต่างๆ เมื่อผ่านไป 90 ปี หลายแห่งได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่แล้ว
กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย 1. พระธาตุวัดป่าซางเรือง (ปัจจุบันคือพระธาตุสามดวงองค์กลาง) สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 475.60 รูเปีย (1 รูเปียหรือ 1 รูปีอินเดีย = 80 สตางค์ไทย) 2. พระธาตุทุตังคะวัด (พระธาตุสามดวงองค์บนสุด) ในจารึกเรียกวัดอนาคา สิ้นเงิน 458.26 รป. 3. วัดรุกขะมูล (พระธาตุสามดวงองค์ล่าง) สิ้นเงิน 340 รป. 4. พระธาตุดอยกิ่วแก้ว (พระธาตุกู่แก้ว) สิ้นเงิน 281.25 รป. 5. พระธาตุดอนเต้า (วัดป่าพระธาตุหลวง) สิ้นเงิน 375 รป. 6. พระธาตุมหาโคสเถน (วัดป่าพุทธนิมิตร) สิ้นเงิน 150.50 รป. 7. พระธาตุดอนมูล (ดอนบุนบาน) สิ้นเงิน 210.40 รป. 8. พระธาตุกำพร้าวัวตอง สิ้นเงิน 246.75 รป. 9. พระธาตุผาช้างมูบ (พระธาตุดอยงู) สิ้นเงิน 226 รป. 10. พระธาตุวัดสันต้นต้อง (ในแผ่นจารึกระบุชื่อพระธาตุศรีดวงแก้ว) สิ้นเงิน 119.40 รป. 11. พระธาตุวัดศรีจุม สิ้นเงิน 287.40 รป. 12. โรงเรียนประชาบาลบ้านห้วยทรายขาว สิ้นเงิน 678.20 13. พระธาตุศรีดงลาน สิ้นเงิน 186.20 รป. 
รวมเงินค่าก่อสร้างของกลุ่มแรกที่ครูบาฯ เซ็นรับรองกับทางสยาม จำนวน 13 วัด ทั้งสิ้น 4,034.96 รูเปีย หรือเท่ากับ 3,227.97 บาท เทียบเป็นเงินในสมัยปัจจุบันตกอยู่ประมาณหลายล้านบาท
 

กลุ่มที่ 2 ได้หลักฐานจากเอกสารลายลักษณ์ทั้งหมด เช่นเอกสารตอบโต้ คัมภีร์ใบลาน ปั๊บสา แผ่นจารึกทั้งแผ่นไม้ แผ่นปูน ที่เขียนขึ้นร่วมสมัยกับยุคที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังมีชีวิตอยู่ เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ในระดับเดียวกันกับเอกสารลายเซ็นครูบาฯ กลุ่มแรก 
กลุ่มนี้ประกอบด้วย 1. วัดเจริญเมือง (เดิมชื่อวัดพระธาตุดอยเต่า) ทราบจากจารึกปูนที่รั้วพระธาตุ 4 มุมกับโคนฐานเจดีย์ และหนังสือประวัติพระศรีวิชัยเขียนโดยพระวิมลญาณมุนี ผลงานครูบาฯ ได้แก่ กุฏิ พระวิหาร พระธาตุ วัดนี้มีกู่บรรจุอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัย ค่าก่อสร้างสิ้นเงิน (เฉพาะเท่าที่ทราบส่วนหนึ่ง) 375 รูเปีย 2. พระวิหารวัดทุ่งมะฝาง (ชื่อเดิมวัดป่าผาง/วัดน้ำล้อม) ทราบข้อมูลจากคร่าวของท้าวสุนทรพจนกิจ สิ้นเงิน 50 รป. 3. พระธาตุวัดป่าถ่อนดอนแก้ว ทราบข้อมูลจากจารึกปูนที่โคนพระธาตุ (จารึกถูกฝังไปแล้ว ทำให้ไม่ทราบค่าก่อสร้าง) 4. กุฏิวัดป่าบงหลวง ทราบข้อมูลจากคร่าวของท้าวสุนทรพจนกิจและตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิสดาร สิ้นเงิน 100 รป. 5. วัดป่าสักเหนือ (เดิมชื่อวัดป่าสักโบสถ) ผลงานครูบาฯ ได้แก่ อุโบสถ พระวิหาร พระธาตุ กำแพง รูปปั้นเสือ ทราบข้อมูลจากจารึกปูนที่โคนพระธาตุ และหนังสือของพระวิมลญาณมุนี สิ้นเงิน 797 รป. วัดนี้มีสารูปบรรจุอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัยด้วย 6. พระธาตุปูแกง ทราบจากบันทึกของพระครูปัญญารัตนากร อดีตเจ้าอาวาสวัดปูแกง ไม่ระบุจำนวนเงิน 7. พระธาตุจอมแจ้ง ทราบข้อมูลจากจารึกปูนที่โคนพระธาตุ ในจารึกระบุชื่อพระมหาชินธาตุเจ้าจอมแจ้งสระหนองปลิง สิ้นเงิน 566 รป. 8. พระธาตุและวิหารวัดพระธาตุจอมแว่ ทราบข้อมูลจากเอกสารของเจ้าคณะมณฑลพายัพ และตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิสดาร สิ้นเงิน 788.20 รป. 9. พระธาตุวัดพระหิน (ชื่อเดิม วัดขวยปู๋ แต่ปัจจุบันเรียกตามหมู่บ้านว่าสันต้นเผิ้ง) ทราบข้อมูลจากบันทึกของพ่อหนานอินทร์ สุใจ (มีชีวิตร่วมสมัยกับครูบาเจ้าศรีวิชัย) ไม่ระบุจำนวนเงิน 10. วัดสันป่ง (ชื่อเดิมคือวัดมหาวัน/สะดือเมืองพาน) ทราบข้อมูลจากจารึกปูนที่โคนพระธาตุ และหนังสือพระวิมลญาณมุนี (เรียกวัดบ้านโป่ง) สิ้นเงิน 1,593.01 รป. 11. พระธาตุ วิหาร กำแพง รูปปั้นเสือวัดเกตุแก้ว (วัดบ้านเก่า) ข้อมูลจากหนังสือพระวิมลญาณมุนี สิ้นเงิน 875 รป. 12. พระธาตุเวียงหวาย ข้อมูลจากหนังสือพระวิมลญาณมุนี สิ้นเงิน 178 รป.
รวมจำนวนเงินของกลุ่มที่ 2 เท่าที่ทราบ (ยังไม่ใช่ตัวเลขเบ็ดเสร็จ เพราะขาดข้อมูลอยู่หลายวัด) 5,322.21 รูเปีย หรือ 4,257,77 บาท
 

กลุ่มที่ 3 พบหลักฐานด้านศิลปกรรมและคำบอกเล่ามุขปาฐะ กลุ่มนี้มี 3 วัด ได้แก่ 1. กู่ธาตุดวงเหนือ (ร้าง) ทราบจากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ และรูปทรงของเจดีย์ที่เหมือนกับเจดีย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัยองค์อื่นๆ 2. วัดพระธาตุจอมรุ่ง ครูบาฯ บูรณะเจดีย์ สร้างบ่อน้ำ กำแพง ฯลฯ ทราบจากคำบอกเล่าของพ่อหนานอินทร์ สุใจ และครูบาเทือง นาถสีโล ผู้มาบูรณะวัดนี้ซ้ำอีกครั้ง 3. พระธาตุและวิหารวัดสันต้นแหน (ชื่อเดิม พระธาตุม่อนสามเหลียว) ทราบจากคำบอกเล่าของพ่อหนานอินทร์ สุใจ กลุ่มนี้ไม่ทราบยอดเงินที่ใช้ก่อสร้าง
 

อนึ่ง ในวาระ 144 ปีชาตกาลครูบาเจ้าศรีวิชัยในวันที่ 11 มิถุนายน ศกนี้ นักวิชาการเล็กๆ กลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันภายใต้ชื่อ “กลุ่มเมืองพานศึกษา” ได้จัดกิจกรรมพิเศษ มีการบรรยายนำชมวัดของครูบาเจ้าศรีวิชัยจำนวน 3 แห่งได้แก่ วัดเจริญเมือง (11.00 น.) วัดพระธาตุจอมแว่ (13.30 น.) และวัดป่าสักเหนือ (15.15 น.) ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้ารับฟังข้อมูลบรรยายโดย ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ และคณะตามวันเวลาสถานที่ดังกล่าว

20

ข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai STARIA Style สีเทา เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

ที่ปรึกษาการขาย เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ เซลส์มุ้ย ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้แก่ คุณกรณ์กาญจน์ สุทธะป๊อก Hyundai STARIA Style สีเทา ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได สอบถามรายละ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 25 เม.ย. 2567, 15:26
  • |
  • 35

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai Creta Style Plus สีขาว เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

ที่ปรึกษาการขาย เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ เซลส์มุ้ย ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้แก่ คุณทักษิณานันท์ ดอนชัย Hyundai Creta Style Plus สีขาว ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได สอบถามรา...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 24 เม.ย. 2567, 18:27
  • |
  • 38

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai Creta Smart สีบรอนเงิน เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

ที่ปรึกษาการขาย เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ เซลส์มุ้ย ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้แก่ คุณมาลี ชัยอุปละHyundai Creta Smart สีบรอนเงิน ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได สอบถามรายละเอีย...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 13 เม.ย. 2567, 07:30
  • |
  • 79

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai H-1 Elite FE สีขาว รถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

ที่ปรึกษาการขาย เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ เซลส์แนน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้แก่ บจก.เอส ดี เมดิคอล เซอร์วิสเซส Hyundai H-1 Elite FE สีขาว ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได สอบถา...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 7 เม.ย. 2567, 14:11
  • |
  • 74

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai STARGAZER X สีขาว รถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

ที่ปรึกษาการขาย เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ เซลส์มุ้ย ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้แก่ คุณภิญญดา มาศรีHyundai STARGAZER X สีขาว ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได สอบถามรายละเอียดของรถ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 7 เม.ย. 2567, 14:00
  • |
  • 82

โค้งสุดท้ายแล้วงาน MOTOR Sale โปรปัง "รับซัมเมอร์"3-9 เมษา 67 ลานโปรโมชั่น ชั้น G เซ็นทรัล...

เป็นการตัดสินใจของท่านเองล้วนๆในการเลือกซื้อรถยนต์ งานแสดงรถยนต์ สำหรับผู้ที่กำลังมองหารถยนต์เอาไปใช้สักคัน พลาดไม่ได้ต้องไปที่งาน มอเตอร์เซลส์ โปรปังรับซัมเมอร์ ระหว่างวันที่ 3-9 เมษายน 67 เรามาพบกัน...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 6 เม.ย. 2567, 10:24
  • |
  • 103
Sytiq Company

ออกแบบพัฒนาโปรแกรมและแอพลิเคชั่น

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128

Sytiq Company

ออกแบบและติดตั้ง Home Automation

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128