“ศิลปศาสตร์” ในวิถีชีวิตของ “ครูบาเจ้าศรีวิชัย”

ข่าวศิลปวัฒนธรรม , 15 ต.ค. 2565, 17:12

“ศิลปศาสตร์” ในวิถีชีวิตของ “ครูบาเจ้าศรีวิชัย”

นายอัฐวิทย์ สว่างดี นักศึกษาหลักสูตรปริญญาโท คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงใหม่ (พื้นเพเป็นคนล้านนาเกิดที่อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่) ได้เชิญให้ดิฉันเป็น Co-Adviser หรืออาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษในการทำวิทยานิพนธ์หัวข้อ “การออกแบบพิพิธภัณฑ์อัตชีวประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย” ตั้งแต่เมื่อราวเดือนสิงหาคมปี 2564 ประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา โดยนักศึกษามีความตั้งใจที่จะนำเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของครูบาเจ้าศรีวิชัย รวมทั้งผลงานที่ท่านสร้าง-บูรณปฏิสังขรณ์ มาจัดทำนิทรรศการในรูปแบบสมัยใหม่ ดูไม่น่าเบื่อ เพื่อนำเสนอต่อสาธารณชนในวงกว้าง ให้คนทุกเพศทุกวัยเข้าใจแบบง่ายๆ 

            นิทรรศการดังกล่าวมีขึ้นระหว่างวันที่ 5-31 ตุลาคม 2565 เวลา 08.30-16.30 นายอัฐวิทย์ ได้ติดตั้งบอร์ดเนื้อหาบนห้องจัดแสดง 3 ห้อง ชั้นสองปีกทิศเหนือ ณ อาคารหอศิลปวัฒนธรรมนครเชียงใหม่ หรือที่นิยมเรียกว่าหอศิลป์สามกษัตริย์ คำบรรยายมีสองภาษาคือ ไทย-อังกฤษ ผู้สนใจสามารถแวะเวียนไปชื่นชมและศึกษาเรียนรู้ได้ โดยเนื้อหาที่นำมาใช้ประกอบทำบอร์ดนิทรรศการทั้งหมดนั้น นายอัฐวิทย์ได้ขออนุญาตอ้างอิงจากหนังสือชุด 3 เล่มในกล่องรวมหนา 1,500 หน้าชื่อหนังสือ “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” จัดพิมพ์เมื่อปี 2561 โดยสมาคมชาวลำพูน (กรุงเทพมหานคร) ซึ่งท่าน ดร.ชัยณรงค์ ณ ลำพูน เป็นประธานจัดพิมพ์ โดยมอบหมายให้ดิฉันเป็นบรรณาธิการและผู้เรียบเรียง

            วันเปิดนิทรรศการเมื่อช่วงเย็นวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา ระหว่างเวลา 16.30-18.30 น. ได้มีกิจกรรมพิเศษคือการเสวนาทางวิชาการว่าด้วยหัวข้อ “ศิลปศาสตร์ในวิถีการดำรงชีวิตของครูบาเจ้าศรีวิชัย” มีวิทยากรหลัก 2 คนคือ 1. ท่านพระปลัดจรินทร์ ธมฺมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีดอนไชย และ 2. ดิฉัน ดร. เพ็ญสุภา สุขคตะ เนื่องจากนายอัฐวิทย์เห็นว่า ดิฉันมีข้อมูลของครูบาเจ้าศรีวิชัยรอบด้าน ค่อนข้างมากพอสมควร จึงน่าจะสามารถ “ถอดรหัส” แห่ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ในวิถีชีวิตของครูบาเจ้าศรีวิชัยมาบอกเล่าต่อผู้ฟังได้เป็นอย่างดี

            รายละเอียดของบทเสวนาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ดิฉันขอนำมาเขียนย้ำให้ทราบดังนี้

ความหมายแห่ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” 

ทำไมครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องใช้ “ศิลปศาสตร์” ในการดำรงวิถีชีวิต คือปกติมนุษย์ทุกคนต้องใช้ทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” สองอย่างนี้ในการประคับประคองชีวิตกันอยู่แล้ว ยิ่งคนที่ต้องดูแลมวลชนมากเรือนพัน เรือนหมื่น เรือนแสนระดับครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านยิ่งจะต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในระดับสูงสุด ในการขับเคลื่อนคนร้อยพ่อพันแม่ ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จนนำไปสู่ความสำเร็จให้จงได้

“ศาสตร์” และ “ศิลป์” ของครูบาเจ้าศรีวิชัย เกิดจากองค์ประกอบสามประการ 1. ประสบการณ์ตรง 2. สังเกตการณ์ 3. จินตนาการ ตัวครูบาเจ้าศรีวิชัยไม่ได้เรียนรู้หลักสูตรพระธรรมคัมภีร์ชั้นสูงอะไรมากมายนัก สิ่งที่ท่านเรียนรู้เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรงเฉพาะตน นอกจากนี้ท่านยังเป็นนักสังเกตการณ์ชั้นเยี่ยม และเป็นผู้มีจินตนาการขั้นสูงอีกด้วย มนุษย์เราจักรังสรรค์งานศิลปกรรมแขนงต่างๆ ให้สำเร็จได้ต้องมีองค์ประกอบ 3 ด้าน แบบสามเส้าหรือสามขา หากขาดขาใดขาหนึ่ง อีกสองขาต้องหยัดแน่นมั่นคง ซึ่งเราพบว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยมีครบทุกด้านทั้งประสบการณ์ สังเกตการณ์ และจินตนาการ

“ศาสตร์” กับ “ศิลป์” ต้องไปด้วยกันทั้งทางธรรมและทางโลกย์

ใน “ศิลป์” ต้องมี “ศาสตร์” ใน “ศาสตร์” ต้องมี “ศิลป์” แล้วครูบาเจ้าศรีวิชัยใช้ “ศาสตร์” และ “ศิลป์” อย่างไรในวิถีชีวิต วิถีชีวิตของครูบาเจ้าศรีวิชัยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ข้อกว้างๆ แบบให้เข้าใจง่าย นั่นคือ วิถีทางธรรม กับวิถีทางโลกย์

วิถีทางธรรม คือวิถีของเพศบรรพชิต กอปรด้วย การปฏิบัติพระธรรมวินัย การนั่งสมาธิเดินจงกรม คำสอน คำสวดมนต์ภาวนา การสืบทอดพระพุทธศาสนาด้วยการจารคัมภีร์ใบลาน การเป็นต้นแบบด้านปฏิปทาให้แก่ศิษยานุศิษย์ 

วิถีทางโลกย์ คือการที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับเพศฆราวาส ข้อนี้ยังแบ่งได้อีกสองส่วน ส่วนแรกคือการเป็นผู้นำในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ส่วนที่สองคือการที่ท่านถูกเพ่งเล็งจากคณะสงฆ์และฝ่ายปกครองว่าเป็นผู้นำในการก่อการกระด้างกระเดื่องต่อวงการสงฆ์ในล้านนา เนื่องจากเวลาอันจำกัดในเวทีเสวนา ดิฉันจึงไม่ได้เจาะลึกเรื่องประเด็นหลัง

“ศาสตร์” และ “ศิลป์” ในเพศบรรพชิต

            ครูบาเจ้าศรีวิชัยมี “ศาสตร์” แห่งการปฏิบัติธรรม หาใช่ศิษย์ไร้สำนักไม่ ครูบาอาจารย์ที่เป็นต้นแบบ ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้แก่ 1. ครูบาสมนะ วัดบ้านโฮ่งหลวง ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้แก่อ้ายฟ้าฮ้อง หรือดินเฟือน (นามเดิมของครูบาเจ้าศรีวิชัย) ตอนบรรพชาเป็นสามเณร และอีกครั้งตอนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ 2. ครูบาอุปละ แห่งสำนักดอยแต สอนครูบาเจ้าศรีวิชัยให้รู้จักวิธีปฏิบัติกัมมัฏฐานแบบล้านนา 3. ครูบาเมธา วัดทาดอยคำ สอนวิชาอานิสงส์ศีล ซึ่งต่อมาครูบาเจ้าศรีวิชัยจะนำไปใช้ถ่ายทอดต่อให้แก่คนหมู่มาก เนื่องจากศิษยานุศิษย์ที่เข้ามาหาครูบาเจ้าศรีวิชัยมีร้อยพ่อพันแม่ ยากที่จะให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยสอนกัมมัฏฐานชั้นสูง หรือเทศนาหัวข้อธรรมชั้นสูงได้ เนื้อหาที่ท่านเทศน์ส่วนใหญ่จะเป็น ขอให้ยึดมั่นต่อศีลห้า 4. ครูบาโปธา แห่งวัดทาดอยครั่ง สอนวิชาการนับลูกประคำ 108 เม็ด และวิธีการเดินจงกรมให้แก่ครูบาเจ้าศรีวิชัย 

            ครูบาอาจารย์ทั้งสี่ท่านนี้ ล้วนเป็นศิษย์ของปรมาจารย์ใหญ่อีกสองท่านคือ ครูบาสมเด็จวชิรปัญญา แห่งวัดสันต้นธง สังฆราชาเมืองลำพูน ผู้เป็นสหธรรมิกกับครูบากัญจนะมหาเถรอรัญวาสี แห่งวัดสุ่งเม่น เมืองแพร่ เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยได้รับการถ่ายทอด “ศาสตร์” หรือทฤษฎีในการปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้นแล้ว ครูบาเจ้าศรีวิชัยจำต้องใช้ “ศิลป์” มาช่วยในการถ่ายทอดธรรมะให้แก่ศิษยานุศิษย์นับหมื่นนับพันคน

            การสอน “ศาสตร์ทางธรรม” อันลึกซึ้งให้แก่คนหมู่มากนั้น ครูบาเจ้าศรีวิชัยจำต้องใช้ “ศิลปะ” หรือสรรหาวิธีที่ง่ายที่สุดมาถ่ายทอดแก่เหล่าสานุศิษย์ นั่นคือ การเน้นคาถาปารมี 30 ทัศ ซึ่งท่านได้ร้อยเรียงเป็นคำคล้องจองคล้ายคร่าวซอหรือบทกวีให้สวดง่าย จำง่าย แต่เนื้อหาลึกซึ้งมาก ถือเป็นการใช้ศิลปะขั้นสูงในการสื่อสารกับปริมาณคนที่มากมาย บางคนเป็นชนเผ่าบนดอยสูงที่เคยนับถือผีบรรพบุรุษมาก่อน บางคนทำท่าจะเข้ารีตเป็นคริสเตียน บางคนถูกแบ่งแยกให้ไปนับถือนิกายธรรมยุต ดังนั้นท่ามกลางคนหมู่มาก สิ่งที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยกระทำหลักๆ คือ 1. สาธกเรื่องอานิสงส์ของศีล 5 พื้นฐาน 2. การให้คาถาสวด ปารมี 9 ชั้น (เป็นภาษาล้านนาคำเมือง) กับคาถาสวดปารมี 30 ทัศ เป็นภาษาบาลี 

            รายละเอียดเรื่องปารมี 30 ทัศ ของครูบาเจ้าศรีวิชัย บรรยายโดยพระปลัดจรินทร์ ธมฺมรโร วิทยากรอีกท่านหนึ่ง หากมีโอกาสจักได้นำรายละเอียดมาเขียนขยายความกันต่อไป

“ศาสตร์” และ “ศิลป์” ต่อเพศฆราวาส 

แบ่งเป็นสองประเด็นใหญ่ๆ ได้แก่ ความสำเร็จของครูบาเจ้าศรีวิชัยในการใช้ศาสตร์และศิลป์ต่องานก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม และด้านการแก้ไขสถานการณ์ในฐานะผู้นำมวลชน

ด้านการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ด้านนี้ต้องถือว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยใช้ศาสตร์และศิลป์ในลักษณะที่สมดุลยิ่ง การใช้ศาสตร์ของครูบาฯ ไม่ได้ปรากฏอยู่ในตำราเล่มใด แต่เป็นการเรียนรู้เทคนิควิธีการสร้างจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน จากสล่าพื้นถิ่น ที่รู้จักวิธีการหาวัสดุในชุมชนมาใช้แทนวัสดุหลักที่หายากและราคาแพง เช่นวิธีการทำปูนสำหรับก่อสร้าง หลายครั้งที่ครูบาฯ ต้องช่วยก่อสร้างในแหล่งทุรกันดารขาดแคลนปูนซีเมนต์ ครูบาฯ ใช้วิธีหาหินปูนมาเผา ภาษาล้านนาเรียก “ม่อนหินไฟ” หรือวิธีการก่อกำแพงหินด้วยการเอาใบสักมารองแต่ละชั้นให้ปลวกมากินแล้วถ่ายมูลกลายเป็นปูนชันหินโดยปริยาย บางสถานการณ์ครูบาฯ ต้องใช้ไม้ตะเคียนแทนไม้สัก เพราะไม้สักอยู่ในเขตสัมปทานของบริษัทต่างชาติชาวอังกฤษ ครูบาฯ เป็นผู้มีภูมิรู้ในศาสตร์หลายแขนง และเป็นผู้เข้าใจคำว่า “วัสดุทดแทน” ในทุกรูปแบบทั้ง หิน ไม้ ปูน โลหะ กระจก รัก ทองคำเปลว การหล่อพิมพ์ 

หัวใจการสร้างและซ่อมวัดของครูบาเจ้าศรีวิชัยใช้องค์ประกอบ 5 ศาสตร์ 5 ศิลป์ (นำเสนอพอคร่าวๆ เป็นสังเขป อันที่จริงมีมากกว่านี้) 

1 ศาสตร์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ วัดที่ครูบาฯ เลือกที่จะบูรณะมักเป็นวัดสำคัญที่ปรากฏในตำนานพระเจ้าเลียบโลก เป็นวัดที่ทำหน้าที่ศูนย์รวมจิตใจจนหมู่มาก หรือเป็นวัดที่ครั้งหนึ่งบุคคลสำคัญเคยมาสร้างเช่นพระนางจามเทวี เป็นต้น

2 ศาสตร์แห่งการกระจายความเจริญ มุ่งเผยแผ่พระพุทธศาสนาในถิ่นที่ทุรกันดาร ห่างไกลผู้คน แม้เป็นวัดเล็ก ไม่สำคัญ เพิ่งสร้างใหม่ ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีเรื่องราวตำนานพระเจ้าเลียบโลก แต่เพื่อเอื้อประโยชน์แก่คนที่ยากไร้ ครูบาฯ ก็รับเป็นประธานในการก่อสร้าง

3 ศาสตร์แห่งวัสดุ เรียนรู้ทั้งภูมิปัญญาพื้นบ้านและไม่ปฏิเสธที่จะศึกษาเรียนรู้รับเอาเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ก่อสร้าง เช่น ยินดีเปลี่ยนจากเสาไม้ คานขื่อไม้ มาเป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อการขยายวิหารให้กว้างใหญ่ขึ้น และเพื่อความมั่นคงแข็งแรง เช่นกรณีโครงสร้างวิหารหลวงวัดพระธาตุหริภุญชัย ที่เจอวาตภัยหรือลมหลวง ครูบาฯ เปลี่ยนจากโครงสร้างไม้มาเป็นปูนซีเมนต์ 
            4 ศาสตร์แห่งการรวมพล การสร้างงานแต่ละแห่งของครูบาฯ ใช้ทุนทรัพย์ที่น้อยมาก ประหยัดมาก เพราะแต่ละแห่งมีคนช่วยสร้างจำนวนมหาศาล ทำให้งานลุล่วงอย่างรวดเร็ว

5 ศาสตร์แห่งการเคารพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัดทุกแห่งก่อนครูบาฯ จะรับเป็นประธานก่อสร้าง ท่านจะต้องดูว่าอยู่ไกลหรือใกล้แหล่งน้ำ หากไม่มีน้ำ วัดนั้นก็ร้างเพราะขาดสิ่งอุปโภคบริโภค ดังนั้น ทุกวัดก่อนนิมนต์ให้ครูบาฯ มาเป็นประธานนั่งหนัก ครูบาฯ จะสั่งลูกศิษย์ให้สำรวจตาน้ำสร้างน้ำบ่อ หรือชักลากน้ำจากเหมืองฝายเข้ามา เน้นการปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นทั้งพืชกินได้และ/หรือพืชที่มีความหมายทางพุทธประวัติ เช่น ต้นขนุน มะม่วง ต้นตาล ต้นลาน ต้นโพธิ์ กล่าวได้ว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นเสมือนปราชญ์ผู้รอบรู้ในศาสตร์ต่างๆ แทบทุกเรื่องอย่างลึกซึ้ง

การใช้ “ศิลป์” เชิงสัญลักษณ์ที่แทนความหมายของครูบาเจ้าศรีวิชัยในการก่อสร้างวัดวาอาราม ในที่นี้ขอนำเสนอ 5 ข้อ

1 ศิลป์แห่งสัญลักษณ์รูปเสือ เป็นสิ่งที่ครูบาฯ นิยมใช้มากที่สุด เป็นการเชื่อมโยงระบบ “ชุธาตุ” กลับมาสู่ชาวล้านนา โดยเน้นการไหว้พระธาตุปีเกิด ครูบาฯ ปั้นรูปเสือแทน “สิงห์” หน้าวัด สะท้อนว่าท่านปรารถนาในเส้นทางอนาคตพุทธเจ้า เหตุที่พระศรีอาริยเมตไตรย มีสัญลักษณ์เป็นรูปสิงห์ แต่ครูบาฯ นำเสือมาใช้ในตำแหน่งที่เคยเป็นสิงห์

2 ศิลป์แห่งสัญลักษณ์นกยูง ตามชาดก พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นนกยูงคำ ขอรักษาศีลห้าแม้จนตัวตาย ครูบาฯ มีความผูกพันกับนกยูงมาก อีกเหตุผลหนึ่ง อาจเป็นเพราะนกยูงเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าอโศกมหาราชด้วยเช่นกัน พระองค์เกิดในราชวงศ์เมาริยะ สัญลักษณ์เป็นนกยูง ครูบาฯ อาจต้องการเดินตามรอยพระเจ้าอโศกที่สร้างวัดวาอารามจำนวนมาก

3 ศิลป์แห่งการใช้ฐานบัว 4 ชั้น และกำแพงหิน 4 ชั้น หมายถึงสัญลักษณ์ของอริยสัจ 4 หรือ อริยมรรค 4 ขั้น

4 ศิลป์แห่งการใช้สัญลักษณ์รูปครุฑ สะท้อนว่าครูบาฯ ต้องการประนีประนอมกับทางสยาม และการนำรูปครุฑมาติดที่หน้าบันนั้น ทำให้คนไม่กล้ารื้อ

5 ศิลป์แห่งการใช้สัญลักษณ์รูปหนุมาน (หอระมาน) ครูบาฯ มองว่าหนุมานเป็นทหารเอกของพระราม เหมือนตัวท่านที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ต้องอุทิศตนทำงานอย่างหนักเพื่อให้ทุกภารกิจลุล่วงไป

สรุปการใช้ศาสตร์​และศิลป์ของครูบาเจ้าศรีวิชัยในวิถีชีวิต ในทุกกิจกรรมจนทำทุกอย่างสำเร็จอย่างราบรื่นก็เพราะครูบาเจ้าศรีวิชัยมีความมุ่งมั่งใฝ่ฝันอันสูงสุดคือ “ต้องการบรรลุพระโพธิญาณ” นั่นเอง

1

ข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ส่งมอบรถใหม่ HyundaiSTARIA Premium with Sunroof (Euro5) สีขาว เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบค...

เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ โดยที่ปรึกษาการขายเซลส์มุ้ย ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้กับคุณแคทริน อินต๊ะมา เป็นรถยนต์ ฮุนไดSTARIA Premium with Sunroof (Euro5) สีขาว ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 16 ม.ค. 2568, 18:44
  • |
  • 68

ส่งมอบไปอีก 1 คันแล้ว สำหรับรถยนต์ Hyundai STARGAZER X6 สีบรอนทอง สุดสวย ที่ผ่านมา

ส่งมอบรถใหม่ให้กับลูกค้า ที่ปรึกษาการขาย เอชดีเจ มอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ เซลส์แนน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้แก่คุณวิระดา ชวลิต Hyundai STARGAZER X6 สีบรอนทอง ออกไปจากโชว์รูม เอชดีเจมอเตอร์ ท...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 11 ม.ค. 2568, 14:08
  • |
  • 101

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai CRETA ALPHA สีดำ เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

 เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ โดยที่ปรึกษาการขายเซลส์แนน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้กับคุคุณ KYUNG HEE LEE เป๋ฯรถยนต์ Hyundai CRETA ALPHA สีดำ ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 8 ม.ค. 2568, 12:35
  • |
  • 115

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai STARGAZER Smart 6 With Black Roof สีแดง เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบคร...

เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ โดยที่ปรึกษาการขายเซลส์แนน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้กับคุณเอนก ชิตเกษร Hyundai STARGAZER Smart 6 With Black Roof สีแดง ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนไ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 3 ม.ค. 2568, 10:17
  • |
  • 201

เหลืออีกสองวัน Lanna Auto Sale 18-25 ธันวา 67 ที่เซ็นทรัลเ แอร์พอร์ต รถไฟฟ้าน่าใช้ราคาน่าต...

กระแสรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเราเริ่มได้รับความสนใจจากผู้ใช้คนเมืองมากขึ้นทุกวัน ตามท้องถนนในเชียงใหม่ทุกวันนี้รถที่ขับไปขับมาสังเกตุดูได้เลยต้องมีรถยนต์ไฟฟ้าชับสวนมาหรือขับตามเรามาหลากหลายรุ่น นั่นแสดงถึงรถ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 24 ธ.ค. 2567, 13:13
  • |
  • 229

อีซูซุ ศาลา เชียงใหม่ จัด ISUZU 2.2 Ddi MAXFORCE พลังแรง ท้าลอง ในศูนย์ประชุมนานาชาติเชียง...

ใกล้สิ้นปีหลายค่ายรถยนต์จัดงานอีเว้นท์กันตลอดทั้งเดือน โดยเฉพาะค่ายอีซูซุที่มีรถยนต์ออกใหม่ทั้งเครื่องยนต์ใหม่ แรงขึ้น เร็วขึ้น วันนี้เราพาท่านไปเที่ยวชมงานนี้กันซึ่งจัดขึ้นภายในศูนย์ประชุมนานาชาติเชี...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 22 ธ.ค. 2567, 16:33
  • |
  • 243
Sytiq Company

ออกแบบพัฒนาโปรแกรมและแอพลิเคชั่น

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128

Sytiq Company

ออกแบบและติดตั้ง Home Automation

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128