กลับมาพบกันอีกครั้งกับ “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2565” หรือ “Chiang Mai Design Week 2022”ระหว่างวันที่ 3-11 ธันวาคม 2565 ณ ย่านอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ย่านล่ามช้าง ย่านช้างม่อย ย่านสันกําแพง และกระจายตัวทั่วเมืองเชียงใหม่ ภายใต้ธีม “Local ‘Rise’ation สร้างสรรค์ ท้องถิ่น เติบโต” ร่วมพลิกฟื้นจังหวัดเชียงใหม่ให้กลับมามีสีสัน อีกครั้ง เพื่อสร้าง การเติบโตของเครือข่าย กลุ่มผู้ประกอบการ นักออกแบบ ศิลปิน ช่างฝีมือ ให้มีศักยภาพอีก ทั้งยังกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ผ่านการสร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่น รวมถึงช่วยผลักดัน และส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในภูมิภาคมากขึ้น
โดยได้จัดให้มีพิธีเปิด เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2565 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565 ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธาน กรรมการสํานักงานส่งเสริมเศษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นประธานเปิดเทศกาลฯ พร้อมด้วย นายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นางนุสรา ยันตรโกวิท ปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ ตัวแทนนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมเศษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมพิธีเปิดอย่างเป็น ทางการ
ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าว สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ได้ร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ทั้ง ใน จังหวัดเชียงใหม่และภายในประเทศ มากกว่า 200 ราย และหน่วยงานจากต่างประเทศกว่า 9 หน่วยงาน จัด “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2565” (Chiang Mai Design Week 2022) เพื่อเป็นการผลักดันและสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจท้องถิ่นภาคเหนือ ที่จะแสดงถึง ศักยภาพในการทํางานของทุกภาคส่วน เช่น ชุมชน นักออกแบบ ช่างฝีมือ ศิลปิน ผู้ประกอบการธุรกิจในภาคเหนือ ให้มีพื้นที่ในการนําเสนอผลิตภัณฑ์ ผลงาน ความคิดสร้างสรรค์ การจําหน่ายสินค้า ไปจนถึงการทดลองตลาด ที่จะนําไปสู่การยกระดับ คุณภาพชีวิตของคน ชุมชน รวมทั้งเป็นกําลังสําคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ร่วมสร้างสรรค์ ท้องถิ่นภาคเหนือให้เข้มแข็ง “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2565” (Chiang Mai Design Week 2022) เปิดโอกาสให้มีการ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์และทรัพยากร ซึ่งนําไปสู่การพัฒนาต่อยอด การ ปรับตัวของธุรกิจสร้างสรรค์ ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ไป สร้างรายได้และเกิดการจ้างงานใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความพร้อม เสริมความ แข็งแกร่งของภาคธุรกิจท้องถิ่นภาคเหนือและย่านสร้างสรรค์ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปีที่ผ่านมา (ปี 2021) มีผู้เข้าร่วม 132,711 คน สร้างมูลค่าให้ทาง เศรษฐกิจ กว่า 485 ล้านบาท
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสํานักงานส่งเสริมเศษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า “เทศกาล งานออกแบบเชียงใหม่ นับเป็นเทศกาลฯที่มีความสําคัญมากต่อภูมิภาคภาคเหนือ ที่จะช่วยขับ เคลื่อนให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสร่วมกันผลักดันเศรษฐกิจระดับจังหวัด นอกจากนี้รัฐบาลได้มีนโย บายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศด้วย Soft Power ในการเสริมสร้าง บทบาทความเป็นผู้นําของ ไทยในเวทีโลก และขยายความออกไปผ่านความ สามารถของนัก สร้างสรรค์ การใช้ต้นทุนทางสังคม และวัฒนธรรม ผ่านการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และการจัดเทศกาลสร้างสรรค์ต่าง ๆ ใน ประเทศไทย จึงเป็นภาพสะท้อนศักยภาพของประเทศ ไทยต่อเวทีโลกอีกด้วย” นายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “ทิศทางการพัฒนาเมือง ของ จังหวัดเชียงใหม่นั้นมีความสอดคล้องกับแนวทางการทํางานของ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาและยกระดับ คุณภาพ ชีวิตของผู้คน ชุมชน เศรษฐกิจของประเทศ โดยการจัดเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ เป็นหนึ่งใน กุญแจสําคัญ ที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และเศรษฐกิจท้องถิ่นภาคเหนือ ให้เติบโตผ่าน เทศกาลที่เกิดขึ้นทั่วเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้การที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเลือกให้เป็นเมืองเทศกาล โลก เมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา ตอกย้ําว่า “เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งความสร้างสรรค์” ระดับ โลก และเป็นมุดหมายสําคัญในการเดินทาง ของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก”
นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “การจัดเทศกาลฯ ในครั้งนี้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งในเขตอําเภอเมือง อําเภอสันกําแพง และพื้นที่อื่น ๆ จะเป็นการตอกย้ําให้เชียงใหม่ เป็นเมืองแห่งความสร้างสรรค์ (Creative City) เพื่อเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการผลิต การค้า และการบริการของธุรกิจสร้างสรรค์ของ ภูมิภาคอาเซียน (Creative Hub of ASEAN) ต่อไป”
นางนุสรา ยันตรโกวิท ปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ กล่าวว่า “การจัดเทศกาลงานออกแบบ เชียงใหม่ ในครั้งนี้ เป็นภาพสะท้อนถึงศักยภาพทางด้านการพัฒนาคน ชุมชน และพื้นที่ สร้างสรรค์ โดยรอบเมืองเชียงใหม่ ให้สามารถก้าวต่อได้อย่างยืนระยะมั่นคงต่อไป ซึ่งย่าน อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ย่านล่ามช้าง ย่านช้างม่อย และย่านสันกําแพง ถือเป็นหน่ึงในย่านเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ที่สําคัญ ของ การจัดเทศกาลฯ ตอกย้ําถึงภารกิจของเทศบาลนครเชียงใหม่ ที่มุ่งเน้นการทําย่านสร้างสรรค์ที่อาศัย การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการร่วมกันพัฒนาย่านนั้น ๆ อย่างยั่งยืน”
ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมเศษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า “สําหรับปีที่ ผ่าน มาหลังจากเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ภาครัฐ และภาคเอกชน ได้มีโครงการที่ช่วย ผลัก ดันและส่งเสริม ให้กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั่วประเทศ และทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัว ให้ทันกับ การเปลี่ยนแปลง CEA จึงได้จัดเทศกาลงานออกแบบ เชียงใหม่ เป็นประจําต่อเนื่องในทุก ๆปี สําหรับ เทศกาลฯปีนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-11 ธันวาคม 2565 ภายใต้ธีม “Local ‘Rise’ation สร้างสรรค์ ท้องถิ่น เติบโต” โดยมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมในพื้นที่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเชียงใหม่ และการสร้างเครือข่าย ระหว่างประเทศกว่า 9 ประเทศ ให้เข้ามามีบทบาทในการเชื่อมต่อทางด้าน เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมร่วมกับประเทศไทย”
โดยในงานดังกล่าวได้รวบรวม 5 ย่านไฮไลต์สําคัญใน “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2565” (Chiang Mai Design Week 2022) ได้แก่
ย่านช้างม่อย ● นิทรรศการ Gastro Economy เศรษฐกิจ “การกินอยู่” กู้โลกอย่างไรในอนาคต โดย CEA ร่วมเปิดมุมมองใหม่ในการพัฒนาภูมิภาค แง่มุมบทบาทของอาหาร ต่อพืชกับคน ศิลปะ- ธุรกิจการประกอบอาหาร และส่งต่อวิถีอาหารไทยสู่การสร้างสรรค์สังคมเพื่ออาหารและความ ยั่งยืน ณ CEA เชียงใหม่ ●NFTARTCON2022:DigitalExhibition&ArtMarketโดยNFTARTCON2022 นิทรรศการศิลปะ Crypto ที่ดีที่สุดจากทั่วโลก โดยการสนับสนุนของศิลปินในท้องถิ่นและนัก สร้างสรรค์ ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเสวนาโดยครีเอเตอร์และนัก พัฒนา NFT ชั้นนํา เวิร์กช็อป และตลาดนัด NFT ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และ โกดังมัทนา ถนนช้างม่อย
● นิทรรศการ Local Cabinets โดย Homecoming โปรเจ็กต์พานักสร้างสรรค์กลับบ้าน (เกิด) นําไปสู่การสร้างสรรค์ที่นําเสนอผลงานที่สะท้อนมุมมองและความคิดของนักสร้างสรรค์ หลาก หลายสาขาที่กลับมาช่วยกันสะท้อนมุมมองความคิดผ่าน 5 พื้นที่น่าสนใจของ เชียงใหม่ เช่น คูเมือง เชียงดาว สันป่าข่อย อมก๋อย และคลองแม่ข่า ส่งต่อแรงบันดาลใจ ด้านการต่อยอดให้ กับท้องถิ่นของตน ที่ โกดังมัทนา ถนนช้างม่อย
● นิทรรศการ Local Composites โดย Homecoming โปรเจ็กต์พานักสร้างสรรค์กลับบ้าน (เกิด)นิทรรศการที่นักสร้างสรรค์หลากหลายสาขา สํารวจและค้นหาวัสดุที่เป็นมิตร ต่อสิ่ง แวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่ มาดัดแปลงใหม่ให้เกิดการเพิ่มมูลค่าทางวัสดุนําเสนออัตลักษณ์ ของพื้นที่นั้น ๆ เพื่อส่งต่อให้กับผู้เข้าชมนําไปปรับใช้หรือต่อยอดต่อไป ณ โกดังมัทนา ถนน ช้างม่อย
● มาหา...สนุก โดย TAM : DA ชวนมองเมืองเชียงใหม่ ผ่านผลงานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ใน พื้นที่ที่ถูกซ่อนไว้ในย่านช้างม่อย ให้ได้ค้นหา สอดส่องเรื่องราวในย่านอย่างสนุกสนาน
ย่านอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ● POP Market โดย CEA ตลาดสินค้าดีไซน์สุดสร้างสรรค์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นเหนือ ทั้ง งานหัตถกรรม สินค้าแฮนด์เมด สินค้าไลฟ์สไตล์ ของตกแต่งบ้าน เครื่องประดับ อาหารและ เครื่องดื่มกว่า 90 แบรนด์ รวมถึงการแสดงดนตรีจากศิลปินท้องถิ่นและกิจกรรมเวิร์กช็อปมา กมายตลอด 9 วัน ณพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา
● Locating the Locals: A Virtual Exhibition by PTT การนําเสนอผลงานผู้ที่ได้รับรางวัลจาก การประกวดศิลปะของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) มาแสดงพร้อมกับการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ชมแบบเสมือนจริง โดยแนวคิดคือการ เดินทางเพื่อค้นหานิยามของความเป็น “ท้องถิ่น” ทั้งในทางศิลปะและตัวตนของศิลปิน ณ หอ ศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
ย่านล่ามช้าง ● Lam Chang International Films โดย CEA กิจกรรมฉายหนังกลางแปลงจากต่างประเทศในวัดล่ามช้าง ที่ชวนให้ผู้ชมได้หวนรําลึกว่าครั้งหนึ่งในอดีตที่แห่งนี้เคยใช้เป็นสถานที่ จัดงาน มหรสพที่สําคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์ก รใน ประเทศไทย ญี่ปุ่น รัสเซีย และฝรั่งเศส ● กาดกองเก่าล่ามช้าง โดย ชุมชนล่ามช้าง / CEA ตลาดชุมชนที่ได้รวบรวมสินค้า อาหาร เครื่องดื่มและบริการท้องถิ่น โดยคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงร่วมมือร่วมใจกันจัดตั้งข้ึน พร้อมต้อนรับอย่างอบอุ่น นอกจากนี้ยังมี Chiang Mai Busking งานแสดงดนตรีจากศิลปินเปิดหมวกตามจุดต่าง ๆ ในชุมชนล่ามช้าง และ World music งานดนตรีจากกลุ่มต่อล้อ ต่อ เสียง ที่จะสร้างสีสันและบรรยากาศให้ย่านครื้นเครงอีกครั้ง ณ วัดล่ามช้าง● เวิร์กช็อปกิจกรรมสําหรับเด็ก อาทิ ศิลปะภาพพิมพ์กับวัสดุและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ย่านสันกําแพง ● โหล่งฮิมคาว กิจกรรมคู่ขนานไปกับเทศกาล โดยมีเวิร์กช็อปสนุก ๆ มากมาย อาทิ เซาะเศษ แป๋งศิลป์ กิจกรรมที่นําเอาวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงเป็นผลงานศิลปะสุดเจ๋ง กาดต่อนยอน ตลาดที่จัดจําหน่ายสินค้างานคราฟท์และบริการสร้างสรรค์ ไปจนถึงตลาดอาหารปลอดภัย อย่าง Green your food ● หมู่บ้านหัตถกรรมต้นเปา นําเสนอความเป็นหมู่บ้านอัตลักษณ์ชุมชนหัตถกรรม และการ เป็นหมู่บ้านงานอาร์ตที่ได้รับความร่วมมือจากนักสร้างสรรค์ท้องถิ่นและนักสร้างสรรค์จาก ประเทศรัสเซีย
ย่านอื่น ๆ ● Chiang Mai Street Jazz Festival 2022 เทศกาลดนตรีแจ๊สแห่งปี ภายใต้คอนเซ็ป Standby me, Stand by humanity ที่พูดถึงการเชื่อมโยงความหลากหลายของผู้คน สังคม การศึกษา สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง ผ่านสุนทรียภาพของดนตรี
● LABBfest 2022 งานแสดงดนตรีสดและการบันทึกภาพที่ผสมผสานระหว่าง Music Showcase กับ Visual Art เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านดนตรีในระดับนานาชาติ ที่ Club Carving CNX พบกับกิจกรรมดี ๆ ที่จะสร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ให้น่าอยู่มากขึ้น ในงาน “เทศกาลงาน ออกแบบเชียงใหม่ 2565 ” (Chiang Mai Design Week 2022) ตั้งแต่วันที่ 3-11 ธันวาคม 2565 ณ ย่านอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ย่านล่ามช้าง ย่านช้างม่อย ย่านสันกําแพง และทั่วเมือง เชียงใหม่