สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย จัดงานเปิดตัวสมาคมฯและจัดงาน Social Value Thailand Forum 2022 โดยเปิดเวทีสะท้อนเสียงในระดับนโยบาย จัดเสวนา "Buiding Impact Ecosystem in Thailand" ซึ่งได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , รองศาสตราจารย์ ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ , รศ.ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) , นายอธิภัทร วรางคนันท์ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ UNFPA Thailand และ นางสาวอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด ร่วมเสวนา
นับเป็นการขยายการรับรู้และภาคีความร่วมมือสมาคมฯ สู่กลไกการปฏิบัติในภาคส่วนต่าง ๆ ภายใต้ธีมงาน Maximize Impact Through Partnerships: Collaborate Advantage ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคม 2565 ที่โรงแรม Wintree City Resort จังหวัดเชียงใหม่
ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ กล่าวหลังการเสวนาว่า "เรื่องของการขับเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับทำให้คนเห็นคุณค่าของาน 1 ชิ้่นที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะนักวิจัยหรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยซึ่งได้สร้างผลงานขึ้นมาแล้วนำไปแก้ปัญหาให้กับสังคมแต่ในที่สุดก็ไม่สามารถที่จะวัดคุณค่าผลกระทบต่อเนื่องได้ ก็ต้องพยายามหาเครื่องมือมาตอบสนองและสุดท้ายเราก็เจอเครื่องมือสากลที่ใช้กันก็คือ Social return on investment หรือ SROI การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมเป็นเครื่องมือที่ทางสังคมยอมรับเนื่องจากเป็นตัวที่วัดผลกระทบเชิงลบและเชิงบวก งาน1ชิ้นที่ผลิตออกมาอาจจะเป็นประโยชน์ต่อคน 1 กลุ่มแต่ในขณะเดียวกันอาจจะไปทำให้คนอีกกลุ่มอาชีพนั้นหายไป จึงเชื่อถือได้ว่า SROI เป็นเครื่องมือที่เชื่อถือได้ ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มองว่ามีองค์กรไหนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล จึงมาเป็นที่มาของความร่วมมือกับ สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย และได้นำเครื่องมือชิ้นนี้มาวัดผลงานของทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เองเพื่อที่จะบอกตัวตนได้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เราทำมากว่า 60 ปีสร้างผลกระทบอะไรให้กับสังคมได้มากน้อยแค่ไหน"
ดร.อำพล อาภาธนากร นายกสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย (Social Value Thailand หรือ SVThailand) ตอกย้ำบทบาทของสมาคมฯ ในการส่งเสริมมาตรฐานสากลและความร่วมมือของเครือข่ายทั่วโลกมาสู่การยกระดับการวางแผนนโยบาย การบริหารจัดการในองค์กรทุกภาคส่วน บทบาทของสมาคมในช่วงแรกมุ่งเน้นการส่งเสริมวิชาชีพผู้ประเมินมูลค่าทางสังคม (Professional Pathway) สืบเนื่องจากการบุกเบิกการจัดอบรมของ SVThailand ร่วมกับ Social Value International ตั้งแต่ปี 2017 มาอย่างต่อเนื่อง เราร่วมกับภาคีพันธมิตร SV Accelerator Partner อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น เพื่อร่วมจัดอบรมสร้างผู้ประเมินในระดับภูมิภาค นอกจากนั้น สมาคมฯ มุ่งพัฒนากลไกการประเมินที่น่าเชื่อถือ การรับรองรายงานการประเมินและจัดการทดสอบเพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ (Assurance Standard) เราเชื่อว่ากลไกของสมาคมฯ และสมาชิกจากหลากหลายภาคส่วนจะผลักดันให้ “ผู้ประเมินมูลค่าทางสังคม” เสริมพลังการขับเคลื่อนงานขององค์กรภาครัฐ ภาคการศึกษา มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน ภาคสังคมให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ดีมากขึ้น
ด้านนางสาว สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ เลขาธิการสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย กล่าวถึง “การขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีและพันธมิตร” เป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานของสมาคม เริ่มต้นจากความร่วมมือในระดับสากล ที่ประเทศไทยก้าวเข้าไปสู่การเป็น SVI Joint Member Network อย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมผลักดันในภูมิภาคเอเชียร่วมกับอีกหลายประเทศที่มีความเข้มแข็ง เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย เป็นต้น ในฐานะเครือข่าย Social Value International เรามุ่งหวังให้เกิดการเชื่อมโยงพลังความร่วมมือทั้งองค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ การส่งเสริมในระดับนโยบายเชื่อมโยงมาสู่การผลักดันกลไกและ eco-system และความร่วมมือในประเทศไทย เพื่อนำ “คุณค่าทางสังคม” เป็นประเด็นสำคัญในการวางแผนและดำเนินงานขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิผลและเกิดความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ ผลักดัน Impact สู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตรงตามปัญหาและความต้องการ สะท้อนอิมแพค ให้ถูกนำมาสื่อสารและกำหนดเป้าหมายร่วมกันได้อย่างเหมาะสม ทั้งต่อแหล่งทุน ระดับนโยบาย ระดับบริหาร กลุ่มเป้าหมายและชุมชน ที่จะต่อยอดไปสู่การพัฒนาและการแข่งขันสร้างนวัตกรรม โมเดลที่เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า ลดผลกระทบและความเสี่ยงจากการดำเนินงานที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นแกนหลัก
“นอกจากนั้น อีกมิติสำคัญที่สมาคมฯ เร่งขับเคลื่อนเพื่อสอดรับกับการขยายตัวของ eco-system และศักยภาพในการบริหารจัดการ Impact ด้วยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการวางแผน บริหารจัดการ Impact Data อย่างมีประสิทธิภาพ สมาคมฯ เปิดตัวระบบ Open Impact Data (OID) เพื่อรวบรวมข้อมูลผู้ประเมินมูลค่าทางสังคม องค์กรที่มีโครงการที่สร้างอิมแพคสังคม และแนวทางการบริหารจัดการโครงการและนวัตกรรมต่างๆ ตลอดจนตัวชี้วัดและแนวทางการประเมินความคุ้มค่า และระบบ Impact Accelerator (IAC) เพื่อเป็นตัวช่วยผู้บริหาร หน่วยงานการวางแผนและติดตามผล ตลอดจนผู้ดำเนินโครงการให้เกิดบริหารจัดการ Impact และข้อมูลการดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถขยายกำลังการประเมินติดตามผล ลดระยะเวลาในการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ระบบการประมวลผลข้อมูลเพื่อสะท้อนแนวโน้มและสรุปข้อมูลผู้บริหาร สมาคมฯ หวังให้กลไกทางเทคโนโลยีและการบริหารจัดการข้อมูลจะเป็นตัวเร่ง ส่งเสริมประสิทธิผลและการขยายตัวตามความต้องการอย่างก้าวกระโดดขององค์กรต่าง ๆ ทั่วประเทศ”
ปี 2022 ได้สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์การพัฒนาผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคมทั่วโลกไปในทิศทางที่ก้าวกระโดด ตลอดจนเกิดการเชื่อมโยงความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน สังคมและสถาบันการเงินในการระดมเม็ดเงินที่สะท้อน ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมที่ดี เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2030 นี้ คณะกรรมการและผู้บริหารสมาคมฯ ขอเชิญชวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มุ่งสร้างทางเลือกการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน ให้ความสำคัญกับผลกระทบและคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกำไรที่เป็นในเชิงการเงินเพียงอย่างเดียว แต่ยังพิจารณาถึงผลกระทบที่สำคัญต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของผลกำไรทางสังคม ด้วยสมการใหม่ในการดำเนินงานของทุกภาคส่วนนี้จะขับเคลื่อนทรัพยากรไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ขยายโอกาสทางธุรกิจเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตลอดจนการเป็นแกนนำในการสร้างความตระหนักทางสังคม เชื่อมโยงบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคมในการให้คุณค่าร่วม พัฒนานวัตกรรม รูปแบบ แนวทาง กรณีศึกษาในระดับโลกและระดับประเทศ