หลังจากการถอดรหัส genome เสร็จสิ้นห่วงโซ่น้ำตาลกำลังดึงดูดความสนใจในแวดวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ หลังจากจีโนม เป็นเรื่องยากที่จะศึกษาห่วงโซ่น้ำตาลเนื่องด้วยข้อมูลที่ซับซ้อนกว่า DNA (เป็นรหัสง่าย ๆ จากตัวอักษร 4 ตัว) อย่างไรก็ตาม ห่วงโซ่น้ำตาล ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับกรุ๊ปเลือดและการเจริญพันธุ์เท่านั้นแต่ยัง เกี่ยวข้องกับกลไกการเกิดโรคเช่นการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่หรือการแพร่กระจายของมะเร็ง กล่าวกันว่าการวิจัยเกี่ยวกับห่วงโซ่น้ำตาลสามารถเปิดเผยปรากฏการณ์ในชีวิตที่ไม่รู้จักมาก่อนหรือการพัฒนายารักษาโรคชนิดใหม่ได้ การวิจัยเกี่ยวกับห่วงโซ่น้ำตาลนับเป็นการวิจัยระดับแนวหน้าของโลกในยุคนี้
ในปี 2022(พ.ศ.2565) อีกครั้งกับไกลโคนิวเทรียนท์ที่สำคัญต่อชีวิต
Nobel Prize สาขาเคมีโดยนักวิทยาศาสตร์ 3 ท่าน
ดร.แคโรลีน เบอร์ทอซซี วัย 55 ปี พร้อมด้วย มอร์เทน เมลดาล นักเคมีชาวเดนมาร์ก วัย 68 ปี และ ดร.คาร์ล แบร์รี ชาร์ปเลสส์ วัย 81 ปี
ร่วมกันคว้ารางวัลโนเบล สาขาเคมี ในชื่อเทคโนโลยี
‘คลิกเคมี’ (Click Chemistry) และ ‘เคมีชีวภาพ’ (Bioorthogonal Chemistry)
คณะกรรมการรางวัลโนเบลชี้ว่า ผลจากการใช้ปฏิกิริยาทางชีวภาพ
ทำให้นักวิจัยสามารถพัฒนาการกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ของยารักษาโรคมะเร็ง
ปฏิกิริยาเคมี “คลิก” (Click Chemistry) และปฏิกิริยาเคมีที่ทำงานได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตโดยไม่เป็นอันตราย (Bioorthogonal Chemistry) ปฏิกิริยาเคมีที่เป็นเครื่องมือสร้างโมเลกุลอัจฉริยะดังกล่าว ได้ทำคุณประโยชน์มหาศาลให้กับวงการต่าง ๆ ทั้งการผลิตยาและเวชภัณฑ์ การแพทย์ อุตสาหกรรม และวัสดุศาสตร์ สร้างโมเลกุลชนิดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโมเลกุลสองชนิดจะ “คลิก” (click) หรือจับตัวเข้าด้วยกันอย่างรวดเร็วทำให้เกิดโมเลกุลใหม่ที่เป็นผลผลิตขึ้นในปริมาณมาก และมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการโมเลกุลที่ “คลิก” เข้าหากันจะมีความจำเพาะสูง โดยเลือกจับตัวกับโมเลกุลที่เหมาะสมกันเท่านั้น และจะไม่จับตัวกับโมเลกุลชนิดอื่น สามารถผลิตโมเลกุลที่มีโครงสร้างซับซ้อนและเป็นระเบียบในแบบที่นักเคมีต้องการได้อย่างแม่นยำ
ตัวอย่างเช่นการเติมตัวเร่งปฏิกิริยาทองแดง (Cu) ลงไป เพื่อให้โมเลกุลของ อะไซด์ (Azide หรือ N-3) จับตัวกับแอลไคน์ (Alkyne) ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งได้ดีขึ้นหลายเท่า
ศ.แคโรรีน เบอร์ทอซซี เป็นผู้พัฒนาหลักการของปฏิกิริยาเคมี “คลิก” ให้ก้าวหน้าไปอีกขั้นด้วยการประยุกต์นำไปสร้างโมเลกุลที่ทำงานได้ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตโดยไม่ต้องมีโมเลกุลของโลหะเข้ามาข้องเกี่ยวทำให้ไม่เป็นพิษหรือก่อให้เกิดอันตรายขึ้นซึ่งปฏิกิริยาเคมีแบบนี้เรียกว่า Bioorthogonal Chemistry ความก้าวหน้าดังกล่าวถือเป็นการปฏิวัติวงการแพทย์และชีววิทยาของศตวรรษที่ 21 โดยทำให้สามารถใช้เทคนิควิศวกรรมเคมีควบคุมสารต่าง ๆ ในระบบการเผาผลาญของร่างกาย เพื่อนำยาและสารต่าง ๆ ที่ใช้รักษาโรคเข้าสู่เซลล์เป้าหมาย ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการถอดลำดับพันธุกรรมที่ยุ่งยากและช่วยติดตามศึกษากระบวนการเกิดโรคในระดับเซลล์ได้อีกด้วย
Bioorthogonal chemistryปฏิกิริยาเคมีที่เข้ากันได้กับระบบในสิ่งมีชีวิต
ผลงานที่สำคัญของท่านได้แก่ การสังเคราะห์เครื่องมือทางเคมี
เพื่อศึกษาน้ำตาล (ไกลโคนิวเทรียนท์) บนเยื่อหุ้มเซลล์และผลกระทบ
ต่อโรคต่าง ๆ รวมทั้งมะเร็ง การอักเสบ และการติดเชื้อไวรัส รวมถึงโควิด-19