วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานเปิดตัว “โครงการ สร้างการรับรู้เชิงรุกและสร้างเครือข่ายชุมชนปลอดการเผาในพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ซ้ำซากด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” ณ กรีนเลค รีสอร์ท เชียงใหม่ พร้อมด้วยหน่วยงานร่วมขับเคลื่อน โครงการฯ ทุกภาคส่วนกว่า 100 คน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ “ประชาชนมีการรับรู้และมีส่วนร่วมในการลดการเผาเพื่อแก้ไข ปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง ส่งผลให้จำนวนจุดความร้อนในพื้นที่นั้นลดลง คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น รวมทั้งชุมชนต้นแบบปลอดการเผาในพื้นที่ที่มีจุดความร้อนสูงที่สามารถเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการปัญหาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้ชุมชนอื่นๆ นำไปปรับใช้ และขยายผลแก้ปัญหาต่อไป”
โครงการสร้างการรับรู้เชิงรุกและสร้างเครือข่ายชุมชนปลอดการเผาในพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ซ้ำซากด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในวงเงิน 3,997,500 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 เดือน ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2567 คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย คือพื้นที่ที่เกิดจุดความร้อน (Hotspot) สะสมหนาแน่น 3 ปีย้อนหลัง คือปี 2563-2565 โดยพิจารณาปัจจัยเชิงพื้นที่เพื่อให้ครอบคลุมลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ พื้นที่ชุมชน ในเขตป่า พื้นที่ชุมชนในเขตรอยต่อป่า-เกษตร และชุมชนในพื้นที่เกษตร รวมท้ังความพร้อมของพื้นที่ในการให้ ความร่วมมือขับเคลื่อนการดำเนินโครงการฯ
โครงการฯ มี 3 กิจกรรมที่สำคัญ คือ กิจกรรมที่ 1 สร้างการรับรู้ผ่านกิจกรรมเคาะประตูบ้าน ดำเนินการโดยกองทัพภาคที่ 3 ผ่านการสื่อสารเชิงรุก การลาดตระเวนป้องปราม กิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ในกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ เช่น กลุ่มเข้าป่าล่าสัตว์ กลุ่มผู้นำ ชุมชนกลุ่มประชาชนทั่วไป โดยมีพื้นที่เป้าหมายดไเนินการ 80 ตำบลใน 3 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 ตำบล จังหวัดตาก 25 ตำบล จังหวัดกำแพงเพชร 5 ตำบล
กิจกรรมที่ 2 การสร้างเครือข่ายชุมชนปลอดการเผา ดำเนินการโดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ (เชียงใหม่) สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 3 (พิษณุโลก) และสำนักงานสิ่งแวดล้อมและ ควบคุมมลพิษที่ 4 (นครสวรรค์) มีพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 80 ชุมชน ใน 6 ตำบล 3 จังหวัด ดังนี้ ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลปิงโค้ง อ้าเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลแม่สลิด อำเภอ บ้านตาก จังหวัดตาก ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ตำบลโป่งน้้าร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ตำบลปางตาไว อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร
กิจกรรมที่ 3 การสื่อสารให้ความรู้ในวงกว้างภาพรวมทั้งประเทศ ดำเนินเนินการโดยกรมควบคุมมลพิษ ผ่านช่องทางการเผยแพร่ที่ส้าคัญ คือ Facebook แฟนเพจ "ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ" (ศกพ.)
กิจกรรมภายในงานวันนี้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 จากการเผาในที่โล่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ป่าจากฐานความรู้และนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาให้ เกิดความยั่งยืน ได้แก่
ฐานความรู้ที่ 1 เรื่อง “การนำเสนอภาพรวมโครงการสร้างการรับรู้เชิงรุกและสร้างเครือข่ายชุมชน ปลอดการเผาในพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ซ้ำซากด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน และแนวทางความสำเร็จของชุมชนต้นแบบปลอดการเผา บ้านนาฮ่อง ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่” โดย เครือข่ายชุมชนปลอดการเผา ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม) และหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการฯ
ฐานความรู้ที่ 2 เรื่อง “แม่แจ่ม โมเดลพลัส” โดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ)
ฐานความรู้ที่ 3 เรื่อง “เครือข่ายภาคพลเมืองเพื่อการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ จังหวัดเชียงใหม” โดย สภาลมหายใจภาคเหนือ
ฐานความรู้ที่ 4 เรื่อง “พื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชาบนพื้นที่สูง” โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ฐานความรู้ที่ 5 เรื่อง “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางภูมิสารสนเทศเพื่อจัดการฐานความรู้ ทางภูมิศาสตร์และแก้ไขปัญหา PM2.5” โดย ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฐานความรู้ที่ 6 เรื่อง “Chiang Mai Model : การบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร” โดย ผศ.ประพัฒน์ เชื้อไทย คณะทำงานโครงการ เชียงใหม่โมเดล
ฐานความรู้ที่ 7 เรื่อง “การจัดการปัญหาในพื้นที่ป่าและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน” โดย สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)
ฐานความรู้ที่ 8 เรื่อง “โดรนดับไฟป่า” โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่