ภาคเอกชนเชียงใหม่พร้อมเดินหน้าแผนพัฒนาเศรษฐกิจ SMEs ระยะ 5 ปี 2566-2570 ขับเคลื่อน SME เชียงใหม่ด้วยกลไกเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เน้นสร้างความสามารถในการแข่งขัน และเสริมสร้างการเติบโต บนฐานทรัพยากร และทุนทางวัฒนธรรม พัฒนาทักษะ และปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ SME และชู แผนงาน High Growth SMEs พร้อมเดินหน้าแผนปฏิบัติการหลักบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ต่อไป
วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 อบจ.ร่วมกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดเชียงใหม่ โดยนางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงศ์ รองนายกองค์การบริหารจังหวัดเชียงใหม่ และนายอาคม สุวรรณกันธา ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดเชียงใหม่ และประธานคณะทํางานย่อย จัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจ SMEs จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันเสวนาหัวข้อ “ ยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชียงใหม่ด้วย 5F “ ที่ศูนย์ประชุม และแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
นายอาคม สุวรรณกันธา ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดเชียงใหม่ และประธานคณะทํางานย่อย จัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจ SMEs จังหวัดเชียงใหม่เปิดเผยว่า ทางภาคเอกชนประกอบด้วยหอการค้าจังหวัด เชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สภาเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัด เชียงใหม่ และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดเชียงใหม่ จะได้เดินหน้าขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจ SMEs จังหวัด เชียงใหม่ ระยะ 5 ปี 2566-2570 เพื่อจะได้นำเป็นแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในอนาคต ต่อไป
ทั้งนี้สาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ SME จังหวัดเชียงใหม่ กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า ขับเคลื่อน SME เชียงใหม่ด้วยกลไกเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยวางพันธกิจไว้ 3 ด้านได้แก่ 1) สร้างความสามารถในการแข่งขัน และ เสริมสร้างการเติบโตบนฐานทรัพยากร และทุนทางวัฒนธรรมผ่านกลไกเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2) พัฒนาความ พร้อมทั้งความรู้ และทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ SME เพื่อให้มองเห็นโอกาส และความเป็นไปได้ในการพัฒนา ธุรกิจให้เติบโตได้ในระยะยาว และ3) พัฒนาปัจจัยแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ SME ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญตั้งแต่การ เริ่มต้นธุรกิจ และการเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ
โดยได้วางยุทธศาสตร์หลักที่จะขับเคลื่อนเป็นเรื่องหลักได้แก่ ส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ภายใต้ บริบทของจังหวัดเชียงใหม่ ที่โดดเด่นเชื่อมโยงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของเชียงใหม่และเป็น Soft Power ได้แก่ การออกแบบ แฟชั่น อาหารไทย การแพทย์แผนไทย และ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าของ สินค้าและบริการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ การบริการสุขภาพ Wellness และ การส่งเสริมเกษตรกรสู่การทำธุรกิจแบบมืออาชีพในขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์เกษตร เกษตรแปรรูป มูลค่าสูงภายใต้ BCG Model ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน เพื่อ เตรียมการในการแก้ไขปัญหาในอนาคตด้านอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญจากการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า ที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs) จากประเทศคู่ค้า
สำหรับการดำเนินกลยุทธ์ด้าน BCG Model จะได้ส่งเสริม สนับสนุนการถ่ายทอดนวัตกรรม และการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยลดขั้นตอนในกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ เพื่อ เพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ สนับสนุนการสืบทอดเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer ใน การผลิตสินค้าเกษตรกร ขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์เกษตร เกษตรแปรรูปมูลค่าสูงภายใต้ BCG Model
ตลอดจนสนับสนุนการทำการเกษตรด้วยความตระหนักถึงสภาพแวดล้อม มีการปรับปรุงการเกษตรให้ เหมาะสมกับสภาพ ดิน น้ำ อากาศ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ทำให้สามารถทำการเกษตรได้ อย่างยั่งยืน รวมถึงให้ ความสำคัญกับ Zero Waste ซึ่งเป็นแนวคิดในการทำให้ไม่เกิดของเหลือ หรือทำให้เกิดของเหลือน้อยที่สุดใน กระบวนการผลิต
นอกจากนั้นคือจะเน้นการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ SME จังหวัด เชียงใหม่ ได้แก่การ สนับสนุนเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ SME พัฒนาความ พร้อมด้านการเงินให้กับ SME ได้แก่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านระบบบัญชี ไม่ว่าจะเป็นการหาแหล่งเงินทุน การลดค่าใช้จ่ายต่างๆ การสร้างวินัยทางการเงิน หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของแต่ละธนาคาร แนวทางการลดความ เสี่ยงของกิจการ เพื่อให้ SME เติบโตได้อย่างยั่งยืนในยุคระบบอีคอมเมิร์ชที่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจบน โลกอินเทอร์เน็ตและ ส่งเสริมการใช้ระบบการเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกสบายสำหรับธุรกิจและวิธีการ ชำระเงินของลูกค้าในยุคปัจจุบันที่ไม่พกเงินสด ตลอดจน พัฒนาความพร้อมทักษะด้านผู้ประกอบการ และ บุคลากร SME เป็นต้น
นายอาคม กล่าวเสริมว่า ในส่วนของการกระตุ้น SMEs ในเชียงใหม่จะเน้นใช้นโยบาย High Growth SMEs โดยขับเคลื่อน 4 ด้านได้แก่ การเงิน ได้แก่การกองทุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ SME ด้วย ข้อมูลด้านที่ไม่ใช่การเงิน (non-financial data) การประกันเงินกู้ หรือ Credit Scoring การเชื่อมกับการระดมทุนในตลาด ทุน การร่วมทุน กองทุนฟื้นฟูหนี้เสีย SMEs
2. การส่งเสริมนวัตกรรม และช่องทางการตลาด การพัฒนาจากสิทธิบัตรสู่ทุน การสร้างผู้ประกอบการจาก มหาวิทยาลัยและชุมชน การเร่งให้มีศูนย์พัฒนาและกระจายสินค้าประจำจังหวัด” เพื่อให้คนตัวเล็ก และ SMEs ได้มี โอกาสเข้าถึงการพัฒนาสินค้า การตลาด และการขนส่งในต้นทุนต่ำ
3.การเริ่มต้นธุรกิจ การบ่มเพาะ SME ในสถาบันการศึกษา พร้อมกับส่งเสริมสร้างกลไกการส่งเสริมการเติบโต การเกื้อใซส์ m เติบโต เป็น SM และ Start Up
4. ปัจจัยแวดล้อม ได้แก่ การสร้างบรรยากาศการค้า การลงทุน การเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การจัดทำ ฐานข้อมูล SME เชิงลึกผ่าน สสว., การเข้าถึงนวัตกรรม มาตรฐานสากล การผลักดันระเบียงเศรษฐกิจ SMEs ระเบียง เศรษฐกิจระดับภาค และการเชื่อมการค้าชายแดน เป็นต้น