ครูบาเจ้าศรีวิชัยกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุหริภุญชัย (ตอนที่ 2)

ข่าวศิลปวัฒนธรรม , 14 ส.ค. 2566, 19:00

ครูบาเจ้าศรีวิชัยกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุหริภุญชัย (ตอนที่ 2)

       นอกเหนือไปจากการที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยทำการบูรณะ “องค์พระบรมธาตุหริภุญไชย” และ “พระวิหารหลวง” แล้ว ฉบับนี้จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับวิหารอีก 4 หลังที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยทำการปฏิสังขรณ์ใหม่ ณ วัดแห่งนี้ ได้แก่ วิหารพระพุทธ วิหารพระเจ้าละโว้ วิหารพระเจ้าทันใจ และวิหารพระอัฏฐารส

วิหารพระพุทธ

ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุหริภุญไชย ตำนานพระธาตุเจ้าหริภุญไชย ระบุว่าสร้างในสมัยพระเมืองเมืองเกษเกล้า หรือพระเมืองอ้าย (พ.ศ.2068 – 2081) รัชกาลที่ 12 แห่งราชวงศ์มังราย โดยโปรดให้สร้างวิหารประจำทางทิศใต้ของพระธาตุหริภุญไชย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สมัยล้านนา ลงรักปิดทองเรียกว่า “พระพุทธ” มีข้อสังเกตว่าชื่อของ “วิหารพระพุทธ” ปรากฏอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงด้านทิศใต้เช่นเดียวกัน 

          พระภิกษุท้าวสุนทรพจนกิจ ได้พรรณนาการสร้างวิหารพระพุทธ ของครูบาเจ้าศรีวิชัยไว้ดังนี้      

          “จึ่งสร้างวิหาร สถานพระพุทธ              หื้อสะอาดขึ้นเพิงพาว

          เสาก่อทึบ ใส่อิฐปูนขาว                       นับลวงยาว ว่ามี 5 ห้อง

          เครื่องไม้สัก ประดับหยั่นหย้อง               ติดพานลม (ป้านลม) ช่อฟ้า

          อิฏฐกํ มุงดินสะง้า                             ดอกแหนบหน้าเชียงคราน

          วิวิธะ ใบเครือเจือจาน                        ดอกดวงบาน เงาะงอกออกเอื้อม

          มณีกาโจ วัณโณสว่างเหลื้อม                  แสงคำเรืองส่องพรัก

          โมจรํ ใส่ด้วยน้ำรัก                            หางชาดเข้าพัณณ์พราย”

ครูบาเจ้าศรีวิชัยปฏิสังขรณ์วิหารพระพุทธขึ้นใหม่ เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูนในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โครงสร้างหลังคาแบบขื่อม้าต่างไหม กรุฝ้าเพดานปิดทึบ ตกแต่งลวดลายบนหน้าบันรูปพันธุ์พฤกษา มีรูปเสือสัญลักษณ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัยที่ปีกนกทั้งสองข้าง ระเบียงมุขด้านหน้าล้อมรอบด้วยลูกกรงหล่อปูนระบายสี เป็นแผ่นยาวฉลุลายคล้ายล้อกระเบื้องกังไสของจีน ซึ่งลูกกรงลักษณะเช่นนี้พบว่าใช้ประดับที่ระเบียงมุขของวิหารพระเจ้าละโว้ และอุโบสถภิกษุณีด้วยเช่นเดียวกัน 

เสาวิหารเป็นเสากลมฉาบปูน ประดับปูนปั้นรูปหน้ากาลในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์ติดกระจก พื้นด้านในปูด้วยกระเบื้องลายดอก ซึ่งได้รับพระราชทานมาจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ส่วนบนของผนังด้านในมีภาพจิตรกรรมสีน้ำพลาสติกเรื่องมโหสถชาดก ฝ้าเพดานปิดทองล่องชาด เขียนเป็นรูปนางมณีเมขลาและเทพชุมนุม แท่นแก้วหรือฐานชุกชีรองรับพระประธาน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประดับกระจก 

          บานประตูเป็นรูปเทวดาจารใบลาน ในใบลานเคยเขียนชื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นผู้บูรณะวิหาร แต่ลายภาพที่ปรากฏในปัจจุบันได้ใส่ชื่อพระครูที่บูรณะทับลงไปแล้ว เช่นเดียวกับการปรากฏชื่อผู้บูรณะบนหน้าบัน

วิหารพระละโว้

ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือขององค์พระธาตุหริภุญไชย ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของศรัทธาสาธุชนที่ถืออุโบสถศีลนอนวัดระหว่างช่วงพรรษากาล ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่เรียกว่า “พระละโว้/พระเจ้าละโว้” จากตำนานมุขปาฐะของวัดธงสัจจะ (ตั้งอยู่ริมแม่น้ำกวง ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดพระธาตุหริภุญชัย) เล่าว่าพระนางจามเทวีได้อัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรจากเมืองละโว้มาสององค์ องค์เล็กให้ประดิษฐานในวิหารวัดหลวง (คือวัดพระธาตุหริภุญชัย) แล้วอธิษฐานตุงให้กวัดแกว่งไปทั่วเมือง  หากตุง (ธง) ไปติดตั้ง ณ บริเวณใดจะโปรดให้สร้างวัดอีกแห่ง ณ บริเวณนั้น พร้อมให้อัญเชิญพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรองค์ใหญ่ไปประดิษฐานในวิหารจึงชื่อว่า “วัดตุงสัจจะ” หรือวัดธงสัจจะ หมายถึงจุดเสี่ยงทำนายตุง ตั้งอยู่ใกล้เขตประตูเมืองด้านทิศตะวันออก

ทว่าตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้บันทึกไว้ว่า พ.ศ.2334 พระญากาวิละพร้อมด้วยอนุชาทั้งสอง เจ้าราชวงศ์ และเสนาอำมาตย์ ได้พร้อมกันสร้างหอยอ 4 ด้านของพระมหาธาตุแห่งเมืองลำพูน และสร้างพระเจ้าละโว้ในวิหารด้านเหนือของพระธาตุ

ในขณะที่ พระธรรมเทศนาเรื่อง “กตัญญุตกถา... ปวัตติกถา” ของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง เรียบเรียงไว้เมื่อปี พ.ศ. 2475 ได้กล่าวว่า

“ลุจุลศักราช 1159 (พ.ศ. 2340) ปีมะเส็ง นพศก พม่าก็ยกกองทัพใหญ่ มีพลถึงเก้าหมื่นเศษมาตั้งล้อมเมืองนครเชียงใหม่ไว้ ท่านพระญากาวิละเจ้าเมืองนครเชียงใหม่ก็ได้รักษาเมืองไว้โดยแน่นหนา พม่าหาตีได้ไม่ ครั้นศึกพม่าแตกหนีไปแล้ว ท่านก็ได้สร้างพระวิหารวัดละโว้ เมืองลำพูนขึ้นอีกแห่งหนึ่ง”

เห็นได้ว่าศักราชที่เขียนถึงการสร้างวิหารละโว้นั้นคลาดเคลื่อนกันระหว่าง ปี 2334 กับ 2340 แต่อย่างไรก็ดี ข้อมูลระบุตรงกันว่าวิหารละโว้สร้างในสมัยพระญากาวิละ

มีข้อน่าสังเกตว่า ชื่อเรียก “วิหารพระละโว้” นี้ยังปรากฏอยู่ทั่วไปในเขตลำพูน-ลำปาง-เชียงใหม่ สะท้อนถึงความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างนครหริภุญไชยกับเมืองละโว้  เช่นที่วัดพระธาตุลำปางหลวง อันเป็นเมืองเครือข่ายอาณาจักรหริภุญไชยร่วมสมัยกับพระนางจามเทวี นั้นก็ปรากฏชื่อของ “วิหารพระละโว้” เพียงแต่ทิศที่ตั้งนั้นเปลี่ยนจากทิศเหนือขององค์พระธาตุเจดีย์เป็นทิศตะวันตก

ครูบาเจ้าศรีวิชัยบูรณะวิหารพระละโว้ด้วยการใช้โครงสร้างเพดานดาดคอนกรีตสมัยใหม่ด้วยเสาแท่งใหญ่ ค้ำยันหลังคาตกแต่งด้วยรูปหนุมาน อันเป็นอัตลักษณ์สำคัญของครูบาเจ้าศรีวิชัย

วิหารพระเจ้าทันใจ    

          ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกขององค์พระธาตุหริภุญไชย ภายในประดิษฐานพระเจ้าทันใจ เป็นพระพุทธปฏิมาสมัยล้านนาประทับยืนปางอุ้มบาตร หรือชาวล้านนาเรียกว่า “ปางอุ้มโอ”

          คร่าวประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย ของพระภิกษุท้าวสุนทรพจนกิจ ได้พรรณนาการสร้างวิหารพระเจ้าทันใจ ดังนี้

“สร้างวิหาระ พระเจ้าทันใจ        นับเรียงไป ไว้เป็น 4 ห้อง”

จากภาพถ่ายโบราณพบว่าวิหารพระเจ้าทันใจหลังเดิมมีสัญลักษณ์รูปเสืออยู่ที่หน้าบัน ปัจจุบันยังคงรูปช้างเอราวัณ (เหลือเพียงเศียรเดียว) เนื่องจากมีการซ่อมแซมวิหารอีกหลายครั้ง

          เชื่อว่าจากการบูรณะวิหารซึ่งประดิษฐาน “พระเจ้าทันใจ” องค์สำคัญยิ่งนี้เอง ที่ส่งผลให้ต่อมาครูบาเจ้าศรีวิชัยได้รับแนวความคิดเรื่องคติการสร้างปูชนียวัตถุและปูชนียสถานให้สำเร็จเรียบร้อยในเวลาอันรวดเร็วฉับพลันทันด่วน เกิดความนิยมในการสร้าง “พระธาตุทันใจ” ที่สำเร็จภายในไม่กี่วัน และการสร้าง “พระเจ้าทันใจ” ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกของวัดต่างๆ ที่ท่านไปบูรณปฏิสังขรณ์

          ปี 2556-2558 กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะวิหารพระเจ้าทันใจอีกครั้ง

วิหารพระอัฏฐารส

ตั้งอยู่ในมุมทิศพายัพ หรืทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เดิมเรียกวัดอัฏฐารส มีวิหารพระอัฏฐารสเป็นหลัก พร้อมด้วยโบสถ์ภิกษุณี หรือที่ในยุคครูบาเจ้าศรีวิชัยเรียกว่า “วิหารน้อย” และวิหารพระสังกัจจายน์ ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้บูรณะวิหารทั้ง 3 หลังที่กล่าวมานี้

วิหารพระอัฏฐารสก่อเป็นทรงมณฑป ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำหลังคาสูงซ้อนกัน 7 ชั้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสูง 18 ศอก ก่ออิฐถือปูน มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับพระเจ้ากลักเกลือ (บอกเกลือ) ในวิหารพระเจ้าแดง 

มีข้อน่าสงสัยเกี่ยวกับชื่อของ “พระอัฏฐารส” ว่าเหตุใดที่นี่จึงสร้างพระปฏิมาสูง 18 ศอกเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง จากการสัมภาษณ์พระครูเทพญาณเวที ผู้ดูแลคณะอัฏฐารส อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำพูน และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 7 ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ได้อธิบายว่าแต่เดิมนั้นพระประธานภายในวิหารพระอัฏฐารสเป็นพระพุทธรูปประทับยืนสูง 18 ศอกปิดหุ้มด้วยทองคำเปลวเปล่งปลั่ง กระทั่งช่วงสงคราม (ไม่ได้ระบุว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือครั้งที่ 2 ก่อนหรือหลังการไปบูรณะของครูบาเจ้าศรีวิชัย) ทางวัดเกรงว่าจะมีคนมาลักลอบขโมยทองจากพระอัฏฐารส จึงได้เอาปูนหุ้มพอกทับองค์เดิมไว้ข้างใน แล้วเปลี่ยนรูปแบบใหม่กลายเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง เนื่องจากสภาวการณ์อันรีบเร่งในขณะนั้นย่อมทำพระปฏิมาในอิริยาบถนั่งง่ายกว่าอิริยาบถยืน และเพื่ออำพรางมิให้มิจฉาชีพรู้ว่านี่คือพระอัฏฐารส                   

          คณะอัฏฐารสมีหน้าที่จัดสลากภัตประจำปี ในเดือน 12 เพ็ญ (ตรงกับเดือน 10 ใต้) เรียกประเพณีกินข้าวสลาก 

คร่าวประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย ของพระภิกษุท้าวสุนทรพจนกิจ ได้พรรณนาการสร้างวิหารอัฏฐารส ไว้ดังนี้

                สร้างวิหาร พระอัฏฐรส                              เสาก่อด้วยสิเมน

                จีนหมู่เจ๊ก เขาช่างจบเจน                                  ปังเอกสิเมน ก่อทาแถมด้วย

                แปลงเป็นมนดก มีฝายอดส้วย                          ฉัตรมุงทวย 7 ชั้น

                ทำด้วยวิจิตร ทั่วไปทั้งนั้น                                  ติดพอกด้วยคำแดง

                ส่วนองค์พระพุทธ ปิดทองใสแสง                     ล้วนแต่คำแดง ทังตนพระเจ้า

                เสี้ยงหมื่น 6 พัน 3 ร้อยรวมเข้า                       90 มีบ่แคล้ว

                สร้างมนดก เสร็จสับพร้อมแล้ว                         เดือนยี่แก้วเทิงมา

                6 ค่ำแล้ว ยี่แก้วมาสา                                         ศักราชพุทธา ศก 65

                พร้อมด้วยสัทธา ทังหลายชุหน้า                     ฉลองทำบุญหยาดน้ำ”

 

หมายเหตุ ข้อมูลนำมาจากหนังสือชุด “ครูบาเจ้าศรีชัย” เล่มที่ 2 ตามรอยการปฏิสังขรณ์ ก่อสร้างปูชนียสถานโบราณวัตถุจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ จัดพิมพ์โดยสมาคมชาวลำพูน ปี 2561 และ ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ เป็นผู้เขียน-บรรณาธิการ

32

ข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ส่งมอบรถใหม่ HyundaiSTARIA Premium with Sunroof (Euro5) สีขาว เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบค...

เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ โดยที่ปรึกษาการขายเซลส์มุ้ย ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้กับคุณแคทริน อินต๊ะมา เป็นรถยนต์ ฮุนไดSTARIA Premium with Sunroof (Euro5) สีขาว ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 16 ม.ค. 2568, 18:44
  • |
  • 55

ส่งมอบไปอีก 1 คันแล้ว สำหรับรถยนต์ Hyundai STARGAZER X6 สีบรอนทอง สุดสวย ที่ผ่านมา

ส่งมอบรถใหม่ให้กับลูกค้า ที่ปรึกษาการขาย เอชดีเจ มอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ เซลส์แนน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้แก่คุณวิระดา ชวลิต Hyundai STARGAZER X6 สีบรอนทอง ออกไปจากโชว์รูม เอชดีเจมอเตอร์ ท...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 11 ม.ค. 2568, 14:08
  • |
  • 92

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai CRETA ALPHA สีดำ เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

 เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ โดยที่ปรึกษาการขายเซลส์แนน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้กับคุคุณ KYUNG HEE LEE เป๋ฯรถยนต์ Hyundai CRETA ALPHA สีดำ ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 8 ม.ค. 2568, 12:35
  • |
  • 105

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai STARGAZER Smart 6 With Black Roof สีแดง เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบคร...

เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ โดยที่ปรึกษาการขายเซลส์แนน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้กับคุณเอนก ชิตเกษร Hyundai STARGAZER Smart 6 With Black Roof สีแดง ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนไ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 3 ม.ค. 2568, 10:17
  • |
  • 188

เหลืออีกสองวัน Lanna Auto Sale 18-25 ธันวา 67 ที่เซ็นทรัลเ แอร์พอร์ต รถไฟฟ้าน่าใช้ราคาน่าต...

กระแสรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเราเริ่มได้รับความสนใจจากผู้ใช้คนเมืองมากขึ้นทุกวัน ตามท้องถนนในเชียงใหม่ทุกวันนี้รถที่ขับไปขับมาสังเกตุดูได้เลยต้องมีรถยนต์ไฟฟ้าชับสวนมาหรือขับตามเรามาหลากหลายรุ่น นั่นแสดงถึงรถ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 24 ธ.ค. 2567, 13:13
  • |
  • 217

อีซูซุ ศาลา เชียงใหม่ จัด ISUZU 2.2 Ddi MAXFORCE พลังแรง ท้าลอง ในศูนย์ประชุมนานาชาติเชียง...

ใกล้สิ้นปีหลายค่ายรถยนต์จัดงานอีเว้นท์กันตลอดทั้งเดือน โดยเฉพาะค่ายอีซูซุที่มีรถยนต์ออกใหม่ทั้งเครื่องยนต์ใหม่ แรงขึ้น เร็วขึ้น วันนี้เราพาท่านไปเที่ยวชมงานนี้กันซึ่งจัดขึ้นภายในศูนย์ประชุมนานาชาติเชี...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 22 ธ.ค. 2567, 16:33
  • |
  • 232
Sytiq Company

ออกแบบพัฒนาโปรแกรมและแอพลิเคชั่น

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128

Sytiq Company

ออกแบบและติดตั้ง Home Automation

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128