อุทยานวิทย์ มช. สานพลัง 4 จังหวัดภาคเหนือ เปิดเวทีสัมมนาเชิงนโยบาย NEC-Creative LANNA ปักหมุดพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

ข่าว เศรษฐกิจ , 25 พ.ย. 2566, 17:50

อุทยานวิทย์ มช. สานพลัง 4 จังหวัดภาคเหนือ เปิดเวทีสัมมนาเชิงนโยบาย NEC-Creative LANNA ปักหมุดพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) โดย อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ จัดการสัมมนาเชิงนโยบายกลไกการขับเคลื่อนแผนแม่บทการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC- Creative Lanna) ด้วยแนวคิด BCG Economy เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) เขตเศรษฐกิจใหม่ของประเทศด้วยแนวคิด BCG นำโดย รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน พร้อมบรรยายพิเศษ “การพัฒนาเมือง ยกระดับศักยภาพของพื้นที่ด้วยการวิจัยและเทคโนโลยี ให้พร้อมรับ NEC” และ ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่) และรศ.ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงานโดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม เข้าร่วมงานจำนวนกว่า 200 คน 

ทั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก บรรยายพิเศษในหัวข้อ“ถอดบทเรียน EEC สู่ปัจจัยสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ” อีกได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการและหัวหน้าสำนักงานจังหวัดจาก 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองบทบาทของจังหวัดในการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ และกลไกการทำงานร่วมกันในระดับจังหวัด ผ่านหัวข้อ “4 จังหวัด NEC พร้อมบูรณาการและขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ” นอกเหนือจากนี้ ภายในงานยังมีการเสวนาในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ กลไกการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) การลงทุนภาคเอกชนเพื่อขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ และปิดท้ายด้วยการนำเสนอแผนแม่บทระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ด้วยแนวคิด BCG Economy โดย รศ.ดร.อภิชาต โสภาแดง คณบดีวิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ NEC BCG Innovation Platform โดย รศ.ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะผู้ดำเนินโครงการ

การสัมมนาเชิงนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ หรือ NEC-Creative LANNA ครั้งนี้ เพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักให้แก่ทุกภาคส่วนในการเข้ามามีส่วนร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยอาศัยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับภาคและประเทศโดยรอบ รวมถึงผลักดันนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจของภาคเหนือ จาก 4 จังหวัดแกนกลาง อันได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดโดยรอบทั้งภาคเหนืออย่างยั่งยืน ผ่านแผนแม่บทเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ด้วยแนวคิด BCG Economy ซึ่งมีเป้าหมายเพิ่มการลงทุน สร้างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และผู้ประกอบการฐาน BCG เพิ่มการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจของ 4 จังหวัดให้เติบโตขึ้นเป็น 1 เท่าภายในปี 2577

ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมเป็นศูนย์กลาง NEC ในการเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนในพื้นที่และมหาวิทยาลัยในภาคเหนือทั้งหมด ในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และบุคลากรจากรั้วมหาวิทยาลัย ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์และบริการสร้างสรรค์ในระดับสากล สร้างศักยภาพในการแข่งขัน สร้างบุคลากรให้พร้อมสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของพื้นที่ อันจะสามารถสร้างงาน เกิดการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค ร่วมขยายฐานเศรษฐกิจในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือต่อไป

รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวถึง ความจำเป็นในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาค ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงความสำคัญของการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่และชุมขน (Bottom-up) ในกระบวนการคิดและการวางแผนพัฒนาเพื่อยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่ โดย บพท. จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยนวัตกรรมให้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินโครงการพัฒนาแผนแม่บทเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC-Creative LANNA) ด้วยแนวคิด BCG Economy ภายใต้แผนงาน “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” โปรแกรมที่ 15 การพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มุ่งเน้นการพัฒนาศูนย์กลางความเจริญเมืองอัจฉริยะเมืองน่าอยู่และเมืองที่ได้รับการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญใน จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง อีกทั้งเพื่อผลักดันการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นพื้นที่แห่งโอกาสของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ที่จะนำมาซึ่งการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการแข่งขันของประเทศ (Competitiveness) และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusiveness)

รศ.ดร. อภิชาต โสภาแดง วิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสริมว่าโครงการวิจัยและพัฒนาแผนแม่บทเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC) ด้วยแนวคิด BCG Economy นับว่าเป็นแรงกระเพื่อมสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรฐกิจของภาคเหนือให้เติบโตไปข้างหน้า การระดมสมองและบูรณาการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมในพื้นที่ จึงเป็นที่มาของการเกิดโครงการเรือธง (Flagship Projects) สำคัญ 4 โครงการ อันได้แก่ (1) ประตูสู่ความร่วมมือและเชื่อมร้อยอารยธรรมลุ่มน้ำ (2) เมืองแห่งสุขภาพและสุขภาวะของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (3) เขตอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพภาคเหนือ และ (4) นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว และศูนย์กลางโลจิสติกส์ ซึ่งโครงการเรือธงเหล่านี้จะเชื่อมร้อยห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และอุตสาหกรรมดิจิทัล ที่เป็นคลัสเตอร์เป้าหมายของระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือให้เติบโตได้อย่างเป็นระบบ

รศ.ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือบนฐาน Bio-Circular-Green Economy ด้วย NEC BCG Innovation Platform จะช่วยให้การนำนโยบายไปสู่แผนการปฏิบัติในพื้นที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม แพลตฟอร์มนี้เป็นการเชื่อมโยงโครงการเรือธง (Flagship Projects) และโครงการที่จะปิดช่องว่างการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจของภาคเหนือ เพื่อเติมเต็มห่วงโซ่คุณค่า (Value Chian) อุตสาหกรรมเป้าหมายของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ ตลอดต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จากการผสานความร่วมมือ 4 จังหวัดภาคเหนือ โดยรวมโครงการภายใต้แผนแม่บท NEC ดังกล่าวมีมูลค่าโครงการรวมกว่า 140,000 ล้านบาท หากผนวกกับแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ของภาคเหนือ อาทิ รถไฟทางคู่ (เด่นชัย-เชียงใหม่/ เด่นชัย-เชียงของ) สนามบินเชียงใหม่แห่งที่สอง มอเตอร์เวย์เชียงใหม่-เชียงราย ที่คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่ารวมกว่า 350,590 ล้านบาท จะส่งผลให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และอุตสาหกรรมดิจิทัลใน 4 จังหวัดแกนกลางเพิ่มขึ้น เกิดผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมหลักรวม 500 ราย เกิดผลิตภัณฑ์และบริการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 500 ผลิตภัณฑ์ เกิดเมืองหรือย่านสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น เกิดเทศกาลสร้างสรรค์เชื่อมโยงเมืองต่างๆ ดึงดูดจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 30 ล้านคน เกิดการจ้างงานกว่า 2.9 ล้านตำแหน่งต่อปี ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง 221,868 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มการเติบโตของ GPP รวม 4 จังหวัดเป็น 1 เท่า มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2577

 

 

 

4

ข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai STARGAZER X6 สีขาว เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ เซลส์มุ้ย ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้กับคุณวันนิศา ปาปะสาHyundai STARGAZER X6 สีขาว ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได สอบถามรายละเอียดของรถยนต์   &n...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 21 ก.ย. 2567, 18:05
  • |
  • 32

มิตซูแสงชัยฯเชิญทดลองขับพร้อมรับโปรดีโดนใจ 🤩 ที่งาน Exclusive Test Drive #วันเสาร์ ที่ 21...

สัมผัสและทดลองขับ ‘ปาเจโร สปอร์ต‘  พร้อมเปิดประสบการณ์ใหม่ของการขับขี่แบบ Mitsubishi e:MOTION                             &nb...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 18 ก.ย. 2567, 19:05
  • |
  • 67

18-24 กย.67 พบงาน LANNA MOTOR SALE 2024 ที่เซ็นเฟสฯ ดีลดี โปรแรง

เริ่มแล้ววันนี้งานแสดงรถยนต์ครั้งยิ่งใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่ งาน LANNA MOTOR SALE 2024 ระหว่างวันที่ 18-24 กันยายน 67 ณ ลานโปรโมชั่น เซ็นทรัลเชียงใหม่ (เฟสฯ) งานนี้มีรถยนต์มาร่วมเปิดรับจองด้วยแคมเปญสุ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 18 ก.ย. 2567, 15:15
  • |
  • 82

Lanna Motor Sale ‼ 🚗 พบกับรถยนต์สุดพรีเมี่ยมจาก ฮุนได เชียงใหม่

Lanna Motor Sale ‼ 🚗พบกับรถยนต์สุดพรีเมี่ยมจาก ฮุนได เชียงใหม่ พบกับ Staria Trend S✨ Stargazer Smart6 ✨📅 วันที่ 18 - 24  กันยายน 2567📍 ชั้น 1   👉 Central festival Chiangmai -------...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 17 ก.ย. 2567, 20:14
  • |
  • 81

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai CRETA ALPHA สีดำ เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ เซลส์แนน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้กับคุณปาริฉัตร แคลนตันHyundai CRETA ALPHA สีดำ ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได สอบถามรายละเอียดของรถยนต์ ฮุนไดทุกรุ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 14 ก.ย. 2567, 16:11
  • |
  • 109

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai STARIA Premium with Sunroof (Euro5) สีดำ เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบคร...

เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ เซลส์แนน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้กัคุณภัทรทิวากร เชียงพรหมHyundai STARIA Premium with Sunroof (Euro5) สีดำ ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได สอบถามราย...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 11 ก.ย. 2567, 17:31
  • |
  • 115
Sytiq Company

ออกแบบพัฒนาโปรแกรมและแอพลิเคชั่น

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128

Sytiq Company

ออกแบบและติดตั้ง Home Automation

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128