การค้นพบ "โครงกระดูกม้า" ที่ “เวียงท่ากาน"

ข่าวศิลปวัฒนธรรม , 9 มิ.ย. 2567, 11:58

การค้นพบ "โครงกระดูกม้า" ที่ “เวียงท่ากาน"

การค้นพบ "โครงกระดูกม้า" ที่ “เวียงท่ากาน"

          เป็นเวลานานกว่า 1 ทศวรรษเศษแล้ว ที่มีการค้นพบโครงกระดูกม้าปะปนในหลุมเดียวกันกับโครงกระดูกมนุษย์ ใต้ชั้นดินระดับลึกเกือบ 2 เมตร  ณ บริเวณวัดท่ากาน แหล่งโบราณสถานเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 

          สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ได้ทำการนำชิ้นส่วนของกระดูกม้าไปกำหนดค่าอายุทางวิทยาศาสตร์แล้ว ได้คำตอบว่ามีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 หรือราว 1 พันปีมาแล้ว

          ซึ่งถือได้ว่า เวียงท่ากานนี้มีความน่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะในวงการโบราณคดีของไทยนั้น เคยค้นพบโครงกระดูกม้าเพียงแค่ไม่กี่แหล่งเท่านั้น อาทิโคราช ลพบุรี และศรีสัชนาลัย

        เวียงท่ากานเป็นกลุ่มโบราณสถานตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำปิงมาทางทิศตะวันตก ในเขตหมู่บ้านท่ากาน ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ อยู่ห่างจากของนครหริภุญไชยลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 13 กิโลเมตร

          ตำนานพระธาตุเจ้าหริภุญไชยกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ที่ “เมืองตระการ” แล้วเสด็จไป “บ้านปาทรคาม/ปทารคาม” (เวียงทาคาม บริเวณสบทา?) ทรงรับบิณฑบาตและเทศนาสั่งสอนชาวบ้านที่นั่น หลังจากนั้นก็ทรงดำเนินไปตามริมแม่น้ำระมิงค์ ถึงที่แห่งหนึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ทรงวางบาตรแล้วประทับอยู่ แล้วทรงพยากรณ์ว่า ณ ที่นั้นจะบังเกิดเป็นมหานครหริภุญไชย และจะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุของพระองค์

          เห็นได้ว่าเรื่องราวของเมืองตระการหรือเวียงท่ากาน ถูกระบุว่าเป็นสถานที่แห่งแรกสุดในตำนานพระธาตุเจ้าหริภุญไชย และเป็นสถานที่แหล่งที่สองรองจาก “ลี้” (บริเวณพระพุทธบาทห้วยต้ม) ที่พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านในตำนานพระเจ้าเลียบโลก 

น่าประหลาดใจทีเดียวที่เรากลับไม่ปรากฏชื่อของ “เวียงท่ากาน” ในตำนานคลาสสิกฉบับต่างๆ อาทิ จามเทวีวงส์ มูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าจุดนี้เป็นเส้นทางเสด็จผ่านของพระนางจามเทวี ด้วยหรือไม่ ยกเว้นแต่ตำนานฉบับฤษีแก้ว เพียงฉบับเดียวที่นายสุทธวารี สุวรรณภาชน์ บอกว่า 

          พระนางจามเทวีมอบหมายให้ “นางเกษวดี” หนึ่งในสองของพระพี่เลี้ยงที่ติดตามมาจากละโว้ (พี่เลี้ยงอีกนางชื่อปทุมวดี)” ดำเนินการบูรณะ “เวียงตระการ” ให้มีขนาดใหญ่โต จัดเป็นเขตเก็บเสบียงยุ้งฉางข้าว มีค่ายคูหอรบ และทำค่ายฝึกทหารม้าทั้งชายหญิง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “เวียงหน้าด่าน”

          สภาพโดยทั่วไปของเวียงท่ากาน มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 740 × 490 เมตร มีคูเมือง 1 ชั้น กว้าง 7-8 เมตร มีกำแพงดินล้อมรอบ 2 ชั้น มีประตูเมือง 5 ประตู ร่องรอยของโบราณสถานกระจายอยู่ 14 กลุ่ม บางวัดมีร่องรอยว่าสร้างมาแต่ครั้งสมัยหริภุญไชย

          มีการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีที่เวียงท่ากานมากกว่า 9 ครั้ง หลักฐานสำคัญคือ กู่พระคงและกู่พระแกง เป็นรูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมระหว่างหริภุญไชยและล้านนายุคต้น โดยเฉพาะกู่พระคง มีลักษณะเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมแบบหริภุญไชย

          การขุดค้นทางโบราณคดีของสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ปี 2556 และ 2562 ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ในชั้นดินหลายโครง พิสูจน์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ว่ามีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งร่วมสมัยกับพระนางจามเทวีหรือนครหริภุญไชยตอนต้น ข้อสำคัญคือพบโครงกระดูกม้ามีอายุในพุทธศตวรรษที่ 16 อาจสอดคล้องกับตำนานฉบับฤษีแก้ว ที่กล่าวว่า เวียงท่ากานถูกกำหนดให้เป็นจุดฝึก “ทหารม้า” ของพระนางจามเทวี

ม้าในเอกสารโบราณ

          เอกสารทั้งเทศ-ไทยที่กล่าวถึงม้าในละแวกรัฐสยามโบราณช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 มีอยู่หลายฉบับเช่น

          พงศาวดารสมัยราชวงศ์เหลียง (พ.ศ.1045- 1100) กล่าวถึงราชทูตคังไถจากอาณาจักรวู (หวู่) เดินทางไปยังฟูนันในช่วง พ.ศ. 788- 793 ว่าคังไถได้พบเซนสง (Zhen Song) ราชทูตจากอินเดีย ที่มาฟูนันพร้อมม้าของพวกยูชิห์ ทำให้ทราบว่าอินเดียกับจีนและฟูนันรู้จักการใช้ม้ามาแล้วก่อนช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 เป็นอย่างน้อย

          เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1143 - 1440) กล่าวถึงนครโถโลโปตี้ (ทวารวดี?) โดยทูตของทวารวดีได้ขอม้าพันธุ์ชั้นดีจากจีน โดยแลกกับงาช้างและไข่มุกของคนพื้นถิ่น

              ศิลาจารึกปราสาทหินพนมรุ้ง อักษรขอมโบราณ พุทธศตวรรษที่ 16  กล่าวถึงพระลําเบงได้ถวายช้างม้า  แก่กัมรเตงชคตแห่งพนมรุ้ง

       ศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม อักษรขอม ปี พ.ศ. 1595 เนื้อความภาษาสันสกฤตกล่าวเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 มีพิธีบูชายัญ บูชาเทพ บูชาพระราชมณเฑียร แก่ราชครูศรีชเยนทรวรมัน ปรากฏเรื่องราวของ "ตำราอัศวลักษณ์" หรือการคัดเลือกม้าพันธุ์ดีอย่างละเอียดในจารึกด้านที่ 3 บรรทัดที่ 27 

       ศิลาจารึกดงแม่นางเมือง ภาษาขอม พบที่นครสวรรค์ พ.ศ.1710 กล่าวถึงพระเจ้าศรีธรรมโศกราช กัลปนาที่ดินอุทิศข้าคนและสิ่งของ ช้างม้า เพื่อบูชาพระสรีธาตุของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชองค์ที่ล่วงลับไปแล้ว

       จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ที่เรารู้จักกันดี บรรทัดที่ 20, 21 กล่าวถึง “เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครใคร่ค้าช้าง ค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส”

       จากตัวอย่างบางส่วนของเอกสารโบราณ พบว่ามีการพูดถึงม้าบนแผ่นดินสยามในหลายมิติ ทั้งการทูต การค้าขายแลกเปลี่ยน และพิธีกรรม

หลักฐานด้านนิเวศน์วัตถุ

          ยังไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีด้านโครงกระดูกม้าในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเลย ทั้งจากแหล่งภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ หรือการศึกษาเรื่องกระดูกสัตว์ สะท้อนว่าการนําม้าเข้ามาสู่แผ่นดินสยามนี้ไม่เคยมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 หรือนานไปกว่า 1,500 ปี มานี้ ซึ่งก็ตรงกับหลักฐานทางสัตววิทยาที่ระบุถึงการแพร่กระจายของสายพันธุ์ม้าทางธรรมชาติว่าไม่พบม้ามีถิ่นที่อยู่อาศัยในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่อย่างใด

          หลักฐานที่เป็นนิเวศน์วัตถุ หรือโครงกระดูกม้าจากการขุดค้นทางโบราณคดีไทย มีรายงานว่าพบมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกพบที่แหล่งโบราณคดีบ้านโตนด อําเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการพบหลักฐานเรื่องม้าในชั้นดินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด คืออยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18

          จากนั้นมาก็พบหลักฐานที่เป็นโครงกระดูกม้าในชั้นดินที่มีอายุช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-20 อีก 2 แหล่ง คือที่แหล่งโบราณคดี พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี กับแหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

          สำหรับโครงกระดูกม้าที่เวียงท่ากานเมื่อแรกพบเมื่อปี 2556 นี้ ดร.อำพัน กิจงาม อดีตนักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์กระดูกสัตว์ กรมศิลปากร ได้ศึกษาเบื้องต้นแล้ว ให้ความเห็นว่า น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 อันตรงกับจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง (สุ้ง-ซ้อง) ด้วยเหตุผลที่ประมวลแล้วสอดรับกันทั้งสามด้าน

       หลักฐานแรกคือได้พบเครื่องถ้วยจีนทาน้ำเคลือบสีทองที่ก้นภาชนะ อันเป็นศิลปะสมัยราชวงศ์ซ่ง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในหลุมเดียวกันกับที่พบโครงกระดูกม้า

       หลักฐานด้านประวัติศาสตร์ จากตำนาน "พื้นเมืองแสนหวี" ปริวรรตโดย รศ.เรณู วิชาศิลป์ พบข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง "ม้าต่าง" จากจีนมายังดินแดนรัฐไทตอนเหนือ ในบทที่กล่าวถึง “ขุนผางคำ” ได้รับความดีความชอบจากฮ่องเต้ (จักรพรรดิจีน) แต่งตั้งให้เป็นเจ้าฟ้าหลวงแมงปุง ในฐานะที่ทำการจัดตั้งระบบหมู่บ้านเพื่อทำหน้าที่เก็บอากรเดินทาง โดยขุนผางคำถูกส่งมาตั้งหมู่บ้านและเป็นตัวแทนการค้าม้าให้กับจีน

       ตำนานเรื่องนี้สอดรับกับหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นอื่นๆ ที่พบในเวียงท่ากาน ซึ่งสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ให้ความเห็นว่า "เวียงท่ากาน" มีฐานะเป็นเวียงบริวารหรือเมืองท่าชั้นเอกของอาณาจักรหริภุญไชย ด้วยทำเลที่ตั้งใกล้ชิดกัน ห่างแค่คนละฟากแม่ปิง คอยทำหน้าที่ติดต่อค้าขายกับรัฐต่างๆ อาทิ รัฐฉาน สิบสองปันนา พุกาม จีนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 ซึ่งขณะนั้นภาคเหนือของไทยอยู่ในสมัยอาณาจักรหริภุญไชยตอนปลาย

       หลักฐานด้านสุดท้ายก็คือ โครงกระดูกของม้านั้นเอง ได้พบฟันม้าครบทุกซี่ จากภาพสเก็ตซ์ลายเส้นที่ถอดมานี้ เปรียบได้กับสายพันธุ์ม้าที่ไม่น่าจะใช่ม้าเทศจากยุโรป-เปอร์เชีย ซึ่งต้องมีรูปร่างสูงใหญ่ ปราดเปรียว แผงคอยาว 

       แต่ม้าที่เวียงท่ากานเป็นสายพันธุ์ม้ามองโกเลีย  หรือม้าเอเชียที่มีขนาดเล็ก มีต้นกำเนิดจากไซบีเรียนานหลายพันปี ค่อยๆ เข้ามายังจีน และได้แพร่พันธุ์สู่อุษาคเนย์ มีความว่องไว ทนทานต่อสภาพภูมิประเทศในเขตร้อนได้ดี กระทั่งค่อยๆ พัฒนากลายเป็น "ม้าไทย" หรือม้าแกลบ (Pony) อันอาจจะเป็น "แม่พันธุ์" ของม้าลำปางก็เป็นได้

       หลังจากข้อสันนิษฐานเบื้องต้นของ ดร.อำพัน กิจงาม ที่เชื่อว่าโครงกระดูกม้าน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 แล้ว ครั้นเมื่อนักโบราณคดีจากสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ทำการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ พบว่าโครงกระดูกม้ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 ใกล้เคียงกับที่ ดร.อำพันคาดเดา คืออยู่ในยุคหริภุญไชย ซึ่งถือว่าเป็นซากโครงกระดูกม้าที่สมบูรณ์ที่สุดในกระเทศไทย และมีอายุเก่าแก่มากที่สุดในประเทศอีกด้วย


ข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

มิตซูแสงชัย ขอเชิญร่วมงาน Exclusive Test Drive 🔮“ มิตซูแสงชัย มูปัง รับปี 68 ” วันเสาร์ ท...

มิตซูแสงชัย ขอเชิญร่วมงาน  Exclusive Test Drive 🔮“ มิตซูแสงชัย มูปัง รับปี 68 ” ✨📍วันเสาร์ ที่ 14 ธ.ค 67  | เวลา 10.00-17.00 น.📍ณ ร้านอาหาร คาริน แอนด์ ชอร์ (ถ.สันกำแพงสายใหม่ เยื้อง ปั้มปตท...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 9 ธ.ค. 2567, 16:24
  • |
  • 49

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai STARIA Premium (Euro5) เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

 เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ โดยที่ปรึกษาการขายเซลส์แนน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้กับคุบริษัท บุญเลิศเกมส์ไม้ จำกัด  Hyundai STARIA Premium (Euro5) ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นคร...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 6 ธ.ค. 2567, 18:34
  • |
  • 54

999,900 บาทราคานี้ยอดจองระเบิด AION V รถ SUV ใหม่ล่าสุดจาก AION VGroup Car เชียงใหม่

ที่ผ่านมา AION VGroup Car เชียงใหม่ จัดงานเปิดตัว SUV ใหม่ล่าสุด AION V ที่เดินทางมาถึงโชว์รูมที่เชียงใหม่ โดยมีผู้บริหาร AION VGRUOP Car เกรียงศักดิ์ จารุนนท์วิวัฒน์ ให้เกียรติ์กล่าวต้อนรับสื่อมวลชนพ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 1 ธ.ค. 2567, 08:32
  • |
  • 139

ส่งมอบรถใหม่ Hyundai STARGAZER X6 สีบรอนเงิน เป็นรถยนต์น่าใช้สำหรับครอบครัว

เอชดีเจมอเตอร์ ฮุนไดเชียงใหม่ โดยที่ปรึกษาการขายเซลส์แนน ร่วมแสดงความยินดีพร้อมส่งมอบรถใหม่ให้กับคุณสิรินาถ ว่าความดี มาถอย Hyundai STARGAZER X6 สีบรอนเงิน ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาเป็นครอบครัวฮุนได สอบ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 29 พ.ย. 2567, 09:59
  • |
  • 101

เริ่มไปแล้ววันนี้งานแสดงรถยนต์ ETON CHIANGMAI EXPO 2024 ณ เซ็นทรัลเชียงใหม่ เฟสฯ 26 พย.ถึง...

ในงานท่านจะได้พบกับรถยนต์นำเข้าหลายรุูปแบบ ทั้งเครื่องยนต์สันดาป,ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า100% ที่นำมาเปิดรับจองสำหรับท่านที่สนใจอยากได้รถยนต์ไปใช้งาน เรามีข้อเสนอพิเศษเฉพาะคุณที่สนใจเชิญแวะมาหาเราได้ที่...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 26 พ.ย. 2567, 13:40
  • |
  • 123

ส่งมอบไปอีกคันแล้ว ฟอร์ด EV 2.0L Turbo Sport 4x2 6AT-DAT64(22B) เป็นรถยนต์ที่น่าใช้

 ส่งมอบรถยนต์น่าใช้ให้กับลูกค้า โดยที่ปรึกษาการขาย ดวงพร กิ่งจำปา  ร่วมแสดงความยินดีกับคุณ เดนนิช สุขสวัสดิ์  มารับ ฟอร์ด EV 2.0L Turbo Sport 4x2 6AT-DAT64(22B) ไปจากโชว์รูม ขอบคุณที่ ใ...


  • ข่าวยานยนต์
  • |
  • 23 พ.ย. 2567, 14:59
  • |
  • 137
Sytiq Company

ออกแบบพัฒนาโปรแกรมและแอพลิเคชั่น

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128

Sytiq Company

ออกแบบและติดตั้ง Home Automation

โดยบริษัทไซทิค ติดต่อ:0819507128